สินค้า
ทำความรู้จักกับไม้มะค่า หนึ่งในไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
ถ้าหากกล่าวถึงวัสดุไม้ที่ได้รับความนิยมแล้ว หนึ่งในนั้นจะต้องมีไม้มะค่าอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีลวดลายและสีสันสวยงาม อีกทั้งยังมีความแข็งแรงและทนทานมาก ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จึงทำให้ไม้ มะค่า ได้รับความนิยมในวงการไม้แปรรูป ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นสิ่งปลูกสร้างได้ รวมถึงงานเฟอร์นิเจอร์ประเภทต่าง ๆ ก็มักจะนิยมใช้ไม้มะค่ากันเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับโรงไม้ของเราที่มีการผลิตไม้ มะค่า แปรรูป ซึ่งสามารถนำไปใช้ตกแต่งอาคารบ้านเรือนทั้งภายในและภายนอกอาคารได้ด้วย[3]
ส่วนส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ สำนักเศรษฐกิจการป่าไม้ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า มะค่า เป็นพืชที่มีถิ่นกําเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และอินเดีย สำหรับในประเทศไทยต้นมะค่ามักจะมีการแพร่กระจายตามป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งสามารถพบได้ในทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) โดยเฉพาะภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือ มักขึ้นตามบริเวณข้างลำห้วยหรือแม่น้ำที่ชุ่ม โดยมะค่าโมงจะมีอัตราการเจริญเติบโตช้ากว่ามะค่าแต้ เมื่อปลูกจนครบ 1 ปี ความสูงจะอยู่ที่ 2.5 เมตร สำหรับไม้ มะค่า ที่เหมาะกับการนำมาใช้งานจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 25–30 ปีขึ้นไป[4]
ไม้มะค่า ในวัฒนธรรมไทย ความสำคัญและความงดงามที่ยั่งยืน
ไม้มะค่า เป็นหนึ่งในไม้เนื้อแข็งที่มีคุณค่าและความสำคัญในวัฒนธรรมไทยมาช้านาน ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่น ทั้งความทนทาน แข็งแรง และลวดลายที่สวยงาม ทำให้ไม้มะค่ามีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมไทย ไม่ว่าจะเป็นงานสถาปัตยกรรม งานหัตถกรรม หรือการใช้งานในชีวิตประจำวัน [4]
ไม้มะค่าในงานสถาปัตยกรรมไทย
ในอดีต ไม้มะค่าถูกใช้ในงานก่อสร้างบ้านเรือนไทยและอาคารสำคัญ เช่น ศาลาวัดหรือเรือนไทยโบราณ เพราะความแข็งแรงและความสวยงามของเนื้อไม้ ไม้ มะค่ ายังเหมาะสำหรับทำเสา คาน และพื้น ซึ่งช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้โครงสร้างบ้าน และเพิ่มความสวยงามด้วยลวดลายธรรมชาติของเนื้อไม้
ไม้มะค่าในงานหัตถกรรมและเฟอร์นิเจอร์
ไม้มะค่าได้รับความนิยมอย่างสูงในการทำเครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ และเตียง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบงานไม้ที่มีเอกลักษณ์และดูหรูหรา ไม้มะค่ายังใช้ทำเครื่องมือหรือภาชนะในครัวเรือน เช่น เขียงหรือครกไม้ ซึ่งแสดงถึงการใช้งานที่หลากหลาย
ความเชื่อเกี่ยวกับไม้มะค่าในวัฒนธรรมไทย
ไม้มะค่ามักถูกเชื่อมโยงกับความมั่นคงและความโชคดี ในบางพื้นที่ของไทย การใช้ไม้มะค่าในการสร้างบ้านหรือเฟอร์นิเจอร์ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งและอายุยืน นอกจากนี้ ไม้มะค่ายังถือเป็นไม้มงคลที่ช่วยเสริมบารมีให้เจ้าของบ้าน
ไม้มะค่า: ความยั่งยืนในวัฒนธรรมไทยยุคใหม่
แม้ว่าในปัจจุบันการใช้ไม้มะค่าอาจเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่คุณค่าของไม้มะค่าในวัฒนธรรมไทยยังคงได้รับการยกย่อง การใช้งานไม้มะค่าในรูปแบบร่วมสมัย เช่น การตกแต่งภายในหรือการทำเฟอร์นิเจอร์สไตล์โมเดิร์น แสดงถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของยุคปัจจุบัน
ไม้มะค่า ไม่เพียงแต่เป็นไม้ที่มีความสวยงามและแข็งแรง แต่ยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของคนไทยที่ผูกพันกับธรรมชาติ การนำไม้มะค่ามาใช้อย่างยั่งยืนยังช่วยรักษาความสมดุลระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมและความต้องการในปัจจุบัน [4]
ชนิดของไม้ มะค่า
มะค่า มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้
• มะค่าโมง Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 30 เมตร จัดเป็นไม้ผลัดใบ พบได้ตามป่าดิบแล้ง หรือบริเวณแนวเชื่อมระหว่างป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง ตามริมลำธารในป่าเพญจพรรณที่มีความชื้น โดยเส้นรอบวงของลำต้นไม้ มะค่าโมง จะมีขนาด 13 เมตร ลำต้นมีความแข็งแรง เนื้อไม้แข็ง (ความแข็ง 808 กก.) และทนทาน เมื่ออายุเพิ่มขึ้นจะมีความหนาแน่นมากขึ้นเรื่อย ๆ (ความแน่น 850 กก/ม3) นิยมนำไปใช้ตกแต่งอาคารบ้านเรือน และทำเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมะค่าโมงจัดเป็นไม้มงคลพระราชทานเพื่อปลูกแก่จังหวัดสุโขทัย [1]
• มะค่าแต้ Sindora siamensis Teijsm. & Miq เป็นมะค่าอีกหนึ่งชนิดที่ถูกจัดให้เป็นไม้มงคล โดยเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานแก่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งหาได้ยากกว่ามะค่าโมง ถูกค้นพบครั้งแรกในจังหวัดราชบุรี และได้ชื่อสปีชีส์ว่า “Siamensis” ขนาดกลางถึงใหญ่ สูงถึง 25 เมตร เนื้อไม้หยาบและมีน้ำหนักมาก ซึ่งสีของเนื้อไม้มะค่าแต้จะมีสีน้ำตาลอ่อนสลับเข้ม มีความแข็งแรงและเนื้อไม้ยังมีความแน่นมาก (ความแข็ง 1,294 กก.) , (ความแน่น 1,100 กก/ม3) ลวดลายจะน้อยกว่ามะค่าโมง สามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย เช่น ทำโครงสร้างบ้านเรือน กระดูกเรือ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือทางการเกษตร เป็นต้น [1]
ความแตกต่างระหว่างไม้ มะค่าโมงกับ มะค่าแต้
ข้อมูลจากกรมป่าไม้ได้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างไม้มะค่าโมงกับมะค่าแต้ดังนี้
•ไม้มะค่าโมงแต้จะมีสีที่ออกไปทางน้ำตาลอ่อนสลับเข้มส่วนไม้มะค่าโมงจะมีสีออกไปทางเหลือส้มและมีลวดลายที่สวยกว่า
•หน้าที่ของการนำไปใช้งานเลยแตกต่างกันไปด้วย ไม้มะค่าโมงนั้นนิยมนำไปใช้ทำในงานเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ และทำเป้นไม้พื้น ไม้บันได ไม้ฝ้าเพดานและไม้ผนังเพราะด้วยสีและลวดเลยที่สวยงาม ส่วนไม้มะค่าแต้นั้นนิยมนำไปใช้ทำเสาและโครงสร้างอาคารบ้านเรือนต่างๆ
•ความแข็งแรงของไม้มะค่าโมงและมะค่าแต้แล้ว ไม้มะค่าแต้จะมีความแข็งแรงกว่าแต่เปราะแตกร้าวง่ายกว่า ซึ่งความแข็งแรงจะวัดที่ความหนาของเนื้อไม้และการใช้งานมากกว่า แต่ทั้ง2ชนิดนี้จัดอยู่ในตระกูลไม้เนื้อแข็งซึ่งมีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีรวมทั้งยังทนต่อปลวกและมอดอีกด้วย [2]
ข้อดีของไม้มะค่า
• ลวดลายและสีสันของไม้มะค่าดูสวยงาม เป็นธรรมชาติ โดยจะมีตั้งแต่สีเหลืองไปจนถึงแดงอมส้ม จึงสามารถนำไปตกแต่งอาคารบ้านเรือนได้อย่างหลากหลาย
• ไม้มะค่ามีความแข็งแรง เหนียวและทนทาน ด้วยคุณสมบัตินี้จึงทำให้เป็นไม้ที่ทนต่อการขูดขีด และทำให้เกิดรอยขีดข่วนได้ยาก
• เนื่องจากเป็นไม้เนื้อแข็ง จึงทนต่อสภาพอากาศ รวมทั้งทนต่อปลวกและมอดได้ดี ทำให้เกิดการผุพังได้ยาก เมื่อนำไปใช้เป็นโครงสร้างบ้าน ตกแต่งอาคารบ้านเรือนทั้งภายนอกและภายใน รวมถึงผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ จะได้วัสดุที่มีคุณภาพและใช้งานได้อย่างยาวนาน
• เนื้อไม้มะค่ามีความหนาแน่นมากพอสมควร ทำให้รับน้ำหนักได้ดี ซึ่งเหมาะกับการนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ ที่ต้องรับน้ำหนักและแรงกระแทก
• ไม้มะค่าทนต่อปลวก มอด เชื้อราและความชื้น จึงสามารถนำไปใช้ตกแต่งอาคารบ้านเรือนได้ทั้งภายนอกและภายใน
ข้อเสียของไม้มะค่า
• เนื้อไม้มะค่ามีความหนาแน่นสูง ส่งผลให้มีน้ำหนักค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีโอกาสยืดหรือหดตัวตามสภาพอากาศได้ด้วย จึงทำให้คนส่วนใหญ่นำไปใช้ตกแต่งงานภายในมากกว่าภายนอก
• ด้วยความที่เป็นไม้เนื้อแข็ง มีความแข็งแรง เหนียวและทนทาน จึงทำให้ยากต่อการตัดแต่งหรือเจาะ
• ด้วยคุณสมบัติของไม้ที่ค่อนข้างตอบโจทย์กับงานก่อสร้าง และอุตสาหกรรมไม้แปรรูป จึงทำให้ไม้มะค่ามีราคาค่อนข้างสูง เพราะความต้องการมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ไม้มะค่าแท้ในปัจจุบันนั้นหาได้ค่อนข้างยาก
การใช้ประโยชน์ไม้ มะค่า
ด้วยคุณสมบัติที่เป็นไม้เนื้อแข็ง มีความแข็งแรง เหนียวและทนทาน เนื้อไม้มีสีเหลืองไปจนถึงแดงอมส้ม (ขึ้นอยู่กับอายุของไม้มะค่า) ลวดลายสวยงามคล้ายไม้สัก เรียกว่าธรรมชาติรังสรรค์มาให้อย่างลงตัว เช่นนี้จึงทำให้ไม้มะค่าถูกนำมาแปรรูป และใช้สร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัย โดยใช้เป็นโครงสร้างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปาร์เก้มะค่า บันได เสาบ้าน ชายคา คานไม้ ประตู หน้าต่าง วงกบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังนิยมนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ประเภทต่าง ๆ ด้วย เช่น โต๊ะรับประทานอาหาร เก้าอี้ โซฟา เตียง เป็นต้น
เคล็ดลับเลือกไม้ มะค่า คุณภาพดีสำหรับงานไม้
ไม้มะค่า เป็นไม้เนื้อแข็งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในงานไม้ ด้วยความแข็งแรงทนทานและลวดลายที่สวยงาม จึงเหมาะสำหรับงานตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์หลากหลายประเภท แต่การเลือกไม้มะค่าคุณภาพดีนั้นต้องอาศัยความรู้และความใส่ใจในรายละเอียด เพื่อให้ได้ไม้ที่ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด [5]
1. เลือกไม้มะค่าจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ
แหล่งที่มาของ ไม้มะค่า เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยการันตีว่าไม้ที่คุณได้รับมีคุณภาพและถูกต้องตามกฎหมาย ควรเลือกซื้อจากร้านค้าที่เชี่ยวชาญด้านไม้ หรือโรงเลื่อยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
คำแนะนำ:
ตรวจสอบเอกสารหรือใบรับรองว่าเป็นไม้มะค่าถูกกฎหมาย
สอบถามแหล่งที่มาของไม้ เช่น จากป่าปลูกยั่งยืน
2. ตรวจสอบลวดลายและสีของไม้มะค่า
ไม้มะค่ามีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และสวยงาม สีของไม้จะมีตั้งแต่สีน้ำตาลทองไปจนถึงน้ำตาลเข้ม บางครั้งอาจมีโทนสีแดงผสมอยู่ด้วย
วิธีเลือก:
เลือกไม้มะค่าที่มีลวดลายชัดเจนและสม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงไม้ที่มีรอยแตกหรือสีผิดปกติ เช่น สีจางเกินไปหรือมีร่องรอยของเชื้อรา
3. ตรวจสอบความแข็งแรงของเนื้อไม้
ไม้มะค่า มีชื่อเสียงเรื่องความแข็งแรงและทนทาน แต่ก็ต้องตรวจสอบว่าผ่านการตากหรืออบแห้งอย่างเหมาะสมหรือไม่
คำแนะนำ:
ไม้ที่ผ่านการอบแห้งจะมีความชื้นต่ำ ซึ่งช่วยป้องกันการหดตัวหรือบิดงอในอนาคต
ใช้มือเคาะดู หากเสียงแน่นและหนักแสดงว่าเป็นไม้เนื้อแข็งคุณภาพดี
4. เลือกไม้มะค่าตามการใช้งาน
ไม้มะค่าเหมาะกับงานไม้หลายประเภท เช่น เฟอร์นิเจอร์ พื้นบ้าน หรือโครงสร้าง
ตัวอย่างการเลือกไม้ตามการใช้งาน:
สำหรับพื้นบ้าน: ควรเลือกไม้มะค่าที่มีความหนาแน่นสูงและมีการเคลือบป้องกันปลวก
สำหรับเฟอร์นิเจอร์: ควรเลือกไม้ที่มีลวดลายสวยงามและขนาดที่เหมาะสม
5. เปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจซื้อ
ราคาของ ไม้มะค่า อาจแตกต่างกันไปตามเกรดและขนาดของไม้ การเปรียบเทียบราคาจากหลายร้านค้าจะช่วยให้คุณได้ไม้คุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม
6. หลีกเลี่ยงไม้มะค่าที่มีปัญหาปลวกหรือแมลงเจาะ
ปลวกและแมลงเป็นปัญหาสำคัญที่อาจทำให้ไม้มะค่าเสียหาย ควรตรวจสอบร่องรอยของปลวกหรือรูเล็ก ๆ บนเนื้อไม้
คำแนะนำ:
เลือกไม้มะค่าที่ผ่านการอบยาฆ่าแมลงแล้ว
ใช้น้ำยาป้องกันปลวกทาเพิ่มเติมหากจำเป็น
การดูแลรักษาไม้ มะค่า เคล็ดลับเพื่อความสวยงามและความทนทาน
ไม้มะค่า เป็นหนึ่งในไม้เนื้อแข็งที่มีความแข็งแรงและลวดลายที่โดดเด่น ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน จึงได้รับความนิยมในการนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ พื้นไม้ และของตกแต่งบ้าน อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาไม้มะค่าอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ไม้ยังคงความสวยงามและทนทานต่อการใช้งานในระยะยาว [6]
1. การทำความสะอาดไม้ มะค่า
การทำความสะอาดเป็นขั้นตอนพื้นฐานในการดูแลไม้มะค่า เพื่อป้องกันฝุ่นและคราบสกปรกที่อาจทำลายพื้นผิวไม้
เคล็ดลับ:
ใช้ผ้านุ่มหรือไม้ปัดฝุ่นในการเช็ดทำความสะอาด
หากมีคราบสกปรก ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดเบา ๆ และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมากเกินไปเพราะอาจทำให้ไม้พองหรือเสียรูป
2. การเคลือบและบำรุงรักษาไม้ มะค่า
ไม้มะค่า ควรได้รับการเคลือบเพื่อป้องกันความชื้นและเพิ่มความเงางามให้กับเนื้อไม้
คำแนะนำ:
ใช้น้ำยาเคลือบไม้หรือแว็กซ์ที่เหมาะกับไม้เนื้อแข็ง
ควรเคลือบไม้ทุก 6-12 เดือน เพื่อรักษาความเงางามและป้องกันรอยขีดข่วน
3. การป้องกันไม้ มะค่า จากแสงแดดและความชื้น
แสงแดดและความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้ไม้มะค่าเกิดปัญหาการแตกร้าวหรือเปลี่ยนสี
วิธีป้องกัน:
หลีกเลี่ยงการตั้งเฟอร์นิเจอร์ไม้มะค่าในบริเวณที่โดนแสงแดดจัด
ใช้ผ้าม่านหรือฟิล์มกรองแสงเพื่อลดการสัมผัสแสงแดดโดยตรง
หลีกเลี่ยงการวางไม้ มะค่า ในที่ชื้นหรือใกล้แหล่งน้ำ
4. การป้องกันปลวกและแมลงไม้
แม้ว่าไม้ มะค่า จะมีความทนทานต่อปลวก แต่การดูแลป้องกันเพิ่มเติมจะช่วยยืดอายุการใช้งานได้
เคล็ดลับ:
ใช้น้ำยาป้องกันปลวกหรือสารเคมีที่เหมาะสมกับเนื้อไม้
ตรวจสอบเฟอร์นิเจอร์หรือพื้นไม้ มะค่า เป็นระยะ หากพบรอยเจาะหรือขี้ผง ให้รีบกำจัดแมลงทันที
5. การซ่อมแซมไม้มะค่าเบื้องต้น
เมื่อไม้ มะค่า มีรอยขีดข่วนหรือเสียหายเล็กน้อย สามารถซ่อมแซมได้ง่ายด้วยตัวเอง
วิธีซ่อมแซม:
รอยขีดข่วนเล็ก ๆ: ใช้น้ำมันมะกอกผสมกับน้ำมะนาวแล้วเช็ดบริเวณที่เป็นรอย
รอยลึกหรือร้าว: ใช้ไม้เนื้ออ่อนหรือสารอุดไม้เติมรอยแล้วขัดเรียบ
จุดเด่นของไม้มะค่า
หลายคนอาจแยกไม่ออกว่าไม้มะค่ากับไม้ชนิดอื่นต่างกันอย่างไร โดยเฉพาะลวดลายของไม้มะค่าที่ดูคล้ายกับไม้สัก แต่ลักษณะเด่นของไม้มะค่าที่เราสามารถสังเกตได้ก็คือ ไม้มะค่าจะเป็นไม้เนื้อแข็ง ลวดลายดูเป็นธรรมชาติ เนื้อไม้จะมีสีเหลืองไปจนถึงน้ำตาลอมแดง ซึ่งสีของเนื้อไม้ค่อนข้างสวยและเป็นเอกลักษณ์ ลักษณะของเนื้อไม้อาจจะหยาบ แต่พื้นผิวจะมีความเรียบ และที่สำคัญเมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็จะทำให้สีของไม้เข้มขึ้นอีกด้วย
จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติของไม้มะค่านั้นเหมาะกับการนำมาประกอบเป็นโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ของอาคารบ้านเรือน ตกแต่งได้ทั้งภายนอกและภายใน รวมถึงผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ประเภทต่าง ๆ ได้ด้วย ทั้งนี้กรมป่าไม้ได้ระบุว่าไม้มะค่าเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. หากจะตัดมาใช้งานหรือแปรรูปเพื่อการค้า ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน แต่ถ้าคุณต้องการไม้เก่า ไม้จริง ไม้มะค่าแปรรูปเพื่อนำไปประโยชน์ในด้านต่าง ๆ TWOMENWOOD ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่คุณสามารถเข้ามาสั่งซื้อสินค้าไม้แปรรูปได้ ซึ่งเรามีบริการจัดส่งทั่วประเทศด้วย สำหรับท่านใดต้องการดูสินค้าด้วยตัวเอง เรามีหน้าร้านไม้เก่าอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี