Your Cart

ไม้สัก ดีมีคุณภาพ ลวดลายสวย ประโยชน์หลากหลาย

ต้นสัก
https://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement3106.htm

เมื่อพูดถึงการใช้ประโยชน์ไม้สักแล้วองค์การสวนพฤกษศาสตร์ได้ให้ข้อมูลว่า ไม้สัก (teak) เป็นไม้ที่มีลวดลายสวยงาม ดูละเอียด เป็นธรรมชาติ และที่สำคัญจัดเป็นไม้ที่มีความทนทาน จึงเป็นวัสดุที่เหมาะกับการนำไปใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ต่อรถ ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือกสิกรรม รวมไปถึงแกะสลัก จะเห็นได้ว่าไม้สัก (teak) สามารถนำไปผลิตเป็นชิ้นงานต่าง ๆ ได้อย่างมากมายเลยทีเดียว

ไม้สัก
https://craftnroll.net/wp-content/uploads/2019/04/554261935.jpg

ไม้สัก (teak) ที่มีความทนทาน กันมด ปลวก และแมลงได้นั้น มักเป็น ไม้สัก เก่า(old teak) ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ซึ่งได้จากการรื้อถอดบ้านไม้สักเรือนเก่า ซึ่งเป็นไม้ที่มีความชื้นต่ำ จึงทำให้มีความทนทานสูง เมื่อนำไปใช้ก่อสร้างบ้านเรือนหรือผลิตเครื่องมือเครื่องใช้มักจะไม่ค่อยมีปัญหา ต่างจากไม้สักใหม่ที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน มักมีปัญหาเกี่ยวกับความชื้น หากนำมาสร้างบ้านเรือนหรือทำเฟอร์นิเจอร์จะไม่ทนต่อสภาพอากาศเท่า ไม้สัก เก่า(old teak) และเมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้ไม้มีการยืดและหดได้

สักทอง

ปัจจุบัน ไม้สัก เก่า(old teak) อาจหาได้ค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่ที่นำมาสร้างเฟอร์นิเจอร์มักเป็น ไม้สัก ใหม่ที่มีอายุไม่มากนัก และเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกอ้างว่าผลิตจาก ไม้สัก ก็อาจจะไม่ได้ใช้ไม้สักแท้100% เพราะไม้สักแท้ที่มีความทนทานสูงจำเป็นจะต้องใช้เวลาหลายสิบปีกว่าจะสามารถนำมาแปรรูปได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไม้สักเก่า(old teak) มีมูลค่ามากกว่าไม้สักชนิดอื่น ๆ อย่างไรก็ตามหากใครสนใจงานไม้เก่าคุณภาพดี หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับไม้สัก TWOMENWOOD สามารถให้คำตอบกับคุณได้ บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับไม้สัก(teak) โดยจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเจริญเติบโตแต่ละช่วงอายุของไม้สักให้ทราบกัน

ต้นไม้สัก
http://www.old.satitm.chula.ac.th/cudbiomap/plants_images/P1010925.JPG

ลักษณะทั่วไปของต้นสัก

จากข้อมูลของส่วนปลูกป่าภาคเอกชน สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ กล่าวว่า สักเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีการผลัดใบในช่วงฤดูร้อน จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการนำส่วนของลำต้นไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อาทิ สร้างที่อยู่อาศัย ทำเฟอร์นิเจอร์ และแกะสลัก ซึ่งการจะนำไปใช้งานในด้านต่าง ๆ นั้นจะต้องผ่านการแปรรูปก่อน เนื่องจากเป็นไม้ขนาดใหญ่ การจะนำส่วนของลำต้นไปใช้จึงต้องผ่านกระบวนการเลื่อยให้ได้ไม้เป็นแผ่น อย่างไรก็ตามไม้สักที่นิยมนำมาใช้งานมักเป็นไม้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป[1]

ลำต้นไม้สัก
https://thfarmers.com/wp-content/uploads/2021/06/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81.jpg

ลำต้น

ลำต้นมีลักษณะตรงเปลา สูงได้ถึง 30 เมตร โคนต้นจะมีลักษณะเป็นพูพอนเล็กน้อย กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกไม้หนา มีสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนแกมเทา เรียบหรือแตกเป็นร่องขนาดเล็กตามความยาวของลำต้น เนื้อไม้อ่อนถึงแข็งปานกลาง สีของไม้จะขึ้นอยู่กับชนิดของไม้สัก โดยมีตั้งแต่สีน้ำตาลทองไปจนถึงสีน้ำตาลแก่ จัดเป็นไม้เศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงธุรกิจไม้เก่าที่ให้บริการเกี่ยวกับไม้สักแปรรูป โดยจะนำลำต้นของไม้สักมาแปรรูปและใช้เป็นวัสดุก่อสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ รถ รวมถึงผลิตเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ประเภทต่าง ๆ ด้วย

ใบสัก
https://medthai.com/wp-content/uploads/2014/06/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81.jpg

ใบ

ใบสักเป็นใบเดี่ยว โดยจะแตกออกจากกิ่งเป็นคู่ตรงข้ามกัน และแต่ละคู่จะตั้งฉากสลับกันไปตามความยาวของกิ่ง ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปไข่กลับ ความยาวของใบจะอยู่ที่ 3060 เซนติเมตร ด้านบนและด้านล่างของใบจะมีผิวสัมผัสที่หยาบและสากมือ บริเวณท้องใบจะเป็นสีเขียว หากเป็นใบอ่อน เมื่อนำมาขยี้จะมีสีแดง โดยใบสักนั้นจะมีการร่วงหรือผลัดใบในช่วงฤดูร้อน หลังจากนั้นจะมีการแตกใบใหม่ในช่วงประมาณเดือนเมษายน-มิถุนายน[12]

ดอกไม้สัก
https://adeq.or.th/wp-content/uploads/2016/07/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81-1030x708.jpg

ดอก

ดอกของต้นสักจัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ โดยจะมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน ซึ่งจะออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่แบบแยกแขนงบริเวณปลายกิ่ง ในส่วนของกลีบดอกจะมีสีขาวนวล โดยช่อดอกช่อแรกนั้นจะออกที่ปลายยอดสุดของแกนลำต้น จากนั้นจะออกดอกที่ปลายยอดของกิ่ง ทั้งนี้ดอกของต้นสักจะบานเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น ต่อมาจะได้รับการผสมจนกลายเป็นผลในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม[2]

เมล็ดสัก
https://adeq.or.th/wp-content/uploads/2016/07/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%812.jpg

ผลและเมล็ด

ผลสักจะมีลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางจะอยู่ที่ 1เซนติเมตร โดยใน 1 ผลจะมีเมล็ดจำนวน 1เมล็ด เมื่อผลแก่จัดจะเป็นสีน้ำตาล ซึ่งผลจะเริ่มแก่ในเดือนพฤศจิกายน-มกราคม สำหรับเมล็ดจะมีลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 0.เซนติเมตร และกว้างประมาณ 0.เซนติเมตร โดยเมล็ดจะเรียงตัวไปทางแนวตั้งของผลสัก และทุกเมล็ดจะมีเปลือกบาง ๆ หุ้มอยู่[2]

ต้นไม้สัก
https://www.teedin108.com/public/photo/original/20190306214521_8816905c7fdd01845c9.jpg

การเจริญเติบโตของไม้สัก

สักเป็นไม้ที่มีการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็วเมื่อเทียบกับไม้ชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีแรกจะเห็นว่ามีการเติบโตเร็วมาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเมล็ดพันธุ์หรือกล้าที่ใช้ปลูก สภาพพื้นที่ และการดูแลรักษา โดยทั่วไปแล้วต้นสักที่ถูกดูแลรักษาเป็นอย่างดี เมื่อมีอายุครบ 10 ปี ต้นจะมีความสูงเฉลี่ยมากกว่า 15 เมตรขึ้นไป ส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยจะมีมากกว่า 15 เซนติเมตร นอกจากนี้ใน 1 ไร่จะให้ผลผลิตที่สูงกว่า 13 ลูกบาศก์เมตร หลังจากนั้นความสูงจะลดลง แต่ในส่วนของความโตทางเส้นรอบวงของสักจะยังเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ[2]

การแปรรูปไม้สัก

ไม้สักเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกเนื่องจากคุณสมบัติเนื้อไม้ละเอียด ตกแต่งได้ง่าย ลวดลายสวยงาม และมีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ เมื่อนำไม้สักเก่า(old teak) ที่ทำมาจากไม้สักเรือนเก่า ที่ทำการรื้อถอนจากบ้านเก่า จากนั้นจึงนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ลักษณะของไม้ประเภทนี้จะมีสีออกน้ำตาลคล้ำ ซึ่งถือว่าเป็น ไม้สัก (teak) ที่มีคุณภาพดีที่สุด เพราะมีความชื้นทางธรรมชาติต่ำ และเมื่อนำมาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์จะมีราคาแพงที่สุดในบรรดาไม้สักประเภทอื่นๆ เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการหดตัวและรอยแตกของไม้ สำหรับอีกส่วนหนึ่งของ ไม้สัก (teak) เพิ่มมูลค่าไม้ด้านความแข็งแรง ความคงทนต่อการทำลายจากแมลงเจาะไม้เป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิต สามารถเพิ่มปริมาณไม้เพื่อเป็นวัตถุดิบระยะยาวเหมาะสมในเชิงอุตสาหกรรมอีกด้วย[4]

เปรียบเทียบไม้สักกับไม้ชนิดอื่นในกลุ่มไม้เนื้อแข็ง

ไม้สัก

กระบวนการในเพิ่มมูลค่าของไม้สัก

ทำได้โดยใช้กระบวนการอัดไอน้ำแรงดันสูง และแช่ในน้ำส้มควันไม้จากไม้ใบกว้างอื่นๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงของสี ไม้ทนต่อการทำลายของแมลง เพิ่มอายุในการใช้งาน เพื่อให้การแปรรูปไม้เฟอร์นิเจอร์เป็นผลิตภัณฑ์นั้นที่มีองค์ประกอบในการที่ช่วยให้ผู้บริโภคทุกคนตัดสินใจในการซื้อจากคุณสมบัติดังนี้ ประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัย ความแข็งแรง โคร้างเหมาะสมทานทาน และประหยัด ความสะดวกสบายในการใช้งาน ความสวยงาม ขนาด สีสันสวยงามน่าใช้ รอพอสมควรไม่แพงแรงจนเกินไป ง่ายต่อการบำรุง การขนส่ง ไม่เกิดการชำรุดเสีย (ข้อมูลนักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้)[4]

ข้อมูลของกรมป่าไม้ได้ระบุไว้ว่า ไม้สักเป็นไม้ที่ผึ่งให้แห้งในอากาศได้ง่าย แข็งแรงและอยู่ตัวดี และยังมีความทนทานตามธรรมชาติสูงมาก ไม้สักสามารทำการเลื่อย การไส การเจาะ และการกลึงทำได้ง่ายสะดวกต่อการนำมาแปรรูปใช้งานและดัดแปลงมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ได้นำเนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เรือ รถ เสา เครื่องมือกสิกรรม เครื่องแกะสลัก และการก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะทำไม้พื้น  ฝา กรอบประตูหน้าต่าง บานเรือน โต๊ะไม้ ส่วนประกอบต่างๆของอาคารบ้านเรือน เนื่องจากเป็นไม้ที่มีความสวยงาม ไส กบ ตกแต่งได้ง่าย จึงนิยมนำมาแปรรูปทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรีไทยหลายอย่าง ตลอดจนของเด็กเล่น ไม้บาง ไม้อัด และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ โดยรวมการใช้ประโยชน์ไม้สักจะใช้เนื้อไม้เป็นหลักประมาณร้อยละ 30 ในการสร้างบ้านเรือน เครื่องเรือน และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ส่วนเนื้อไม้ที่เหลืออีกร้อยละ 70 จะสูญเสียไประหว่างขั้นตอนกระบวนการผลิตและการแปรรูป เช่น เศษไม้ ปลายไม้ ขี้เลื่อยขี้กบ ได้นำส่วนนี้ไปทำแผ่นไม้ประกอบประเภทต่างๆ เช่น แผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใยไม้อัด และแผ่นใยไม้อัดซีเมนต์ สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าโดยการนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงอัดเม็ด ค่าความร้อนใกล้เคียงกับเนื้อไม้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ทางอ้อมของไม้สัก มีอยู่หลากหลายประการ เช่น เนื้อไม้และใบเป็นสมุนไพรช่วยแก้บวม ลดเบาหวาน ขับลมในลำไส้ แก้ไตพิการ เปลือกเป็นยาคุมธาตุ เป็นต้น

มาตรฐานไม้สักแปรรูป

โดยแบ่งแปรรูปออกเป็น 8 ชนิด ดังต่อไปนี้ ไม้กระดาน เศษไม้กระดาน ไม้ดาดฟ้า ไม้ขอบดาดฟ้า ไม้ตับหนา ไม้ตับ เศษไม้ตับ และไม้หน้าเล็ก ทางเรามีประเภทและขนาดของไม้สักแปรรรูปที่ทางร้านขาย  2 นิ้ว 1..5 นิ้ว และ 1 นิ้ว ประกอบด้วยไม้พื้น ไม้ฝา เสา ทางเรามีให้คุณเลือกสินค้าได้หลายเกรดเหมาะสมในการนำไปใช้งานได้จริง

ไม้สัก
https://scontent.fbkk6-1.fna.fbcdn.net

การเจริญเติบโตของไม้สักแต่ละช่วงอายุทางเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก และความสูง

– ไม้สักที่มีอายุ 10 ปี จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ยที่ 15.01 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 17.0 เมตร
– ไม้สักที่มีอายุ 20 ปี จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ยที่ 22.90 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 23.0 เมตร
– ไม้สักที่มีอายุ 30 ปี จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ยที่ 27.86 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 26.0 เมตร
– ไม้สักที่มีอายุ 40 ปี จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ยที่ 31.36 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 27.5 เมตร
– ไม้สักที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ยที่ 33.89 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 28.0 เมตรขึ้นไป
– ไม้สักที่มีอายุ 100 ปี จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกเฉลี่ยที่ 40.6 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 32.6 เมตร[6]

การจำแนกชนิดของไม้สักมีดังต่อไปนี้

1.ไม้สักทอง มีเนื้อไม้เป็นเส้นตรงผ่าง่าย มีความแข็งแรงกว่าสักหยวก สีน้ำตาลเหลือง ลวดลายสวยงามตกแต่งได้ง่าย หรือเรียกกันว่าสีทอง สักหยวกและสักทองจะมีความคล้ายกันแต่มีขนาดร้องกว้างกว่าสักทอง 

2) ไม้สักหยวก มีเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้ตกแต่งได้ง่าย 

3) ไม้สักไข่ มีเนื้อไม้สีน้ำตาลเข้มปนเหลืองจะมีไขปน แปรรูปและตกแต่งได้ยาก

4) ไม้สักหิน มีเนื้อไม้สีน้ำตาลเข้มจะแข็งและเปราะกว่าสักทั่วไป ตกแต่งได้ง่าย 

5) ไม้สักขี้ควาย มีเนื้อไม้สีเขียวปนน้ำตาล น้ำตาลแก่ น้ำตาลอ่อน ปนคละกันในเนื้อไม้

ต้นสักที่ใหญ่ที่สุด
https://fastly.4sqi.net/img/general/600x600/12658742_ZEKYcZaKW-U0ZjykMZLQ1GplkS-kBRkJOCtQoFgqdRQ.jpg

ต้นสักที่ใหญ่และอายุมากที่สุดในโลก

ในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับต้นสักได้อ้างว่า ต้นสักที่มีขนาดใหญ่และอายุมากที่สุดในโลก ได้แก่ ต้นสักที่ได้รับชื่อพระราชทานนามว่า “มเหสักข์” ซึ่งมีอายุมากกว่า 1,500 ปี สูงถึง 47 เมตร ลำต้นเส้นวงรอบจะอยู่ที่ 10 เมตร กับอีก 23 เซนติเมตร และขนาดความโตจะอยู่ที่ 1020.7 เซนติเมตร เฉลี่ยแล้วจะโตขึ้นปีละ 1.3 เซนติเมตร โดยต้นดังกล่าวนั้นอยู่ในวนอุทยานต้นสักใหญ่ บ้านปางเกลือ ตำบลน้ำไคร้ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์[5]

สำหรับใครที่กำลังมองหาไม้เก่า ไม้จริง ไม้สักเก่า(old teak) คุณภาพดี รวมถึงไม้แปรรูปประเภทอื่น ๆ เช่น ไม้มะค่า ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เนื้อแข็ง TWOMENWOOD ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่คุณสามารถใช้บริการได้ เพราะเรามีบริการแปรรูปไม้ทุกรูปแบบ จัดส่งทั่วประเทศ โดยสร้างผลงานจากช่างมืออาชีพที่มากประสบการณ์ ใส่ใจในทุกขั้นตอนอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ผลงานที่ถูกใจและตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด สำหรับท่านใดต้องการดูสินค้าด้วยตัวเอง เรามีหน้าร้านไม้เก่าอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี 

ตรวจสอบราคาสินค้า

อ้างอิง