Your Cart

การทำเดือยไม้ เป็นการเข้าไม้ด้วยการบากและเจาะรูไม้ในอีกลักษณะหนึ่งที่ประกอบกันแล้วมีความแข็งแรงกว่าการเข้าไม้แบบอื่นๆ

เดือยไม้
https://down-th.img.susercontent.com/file/ca293fe10bcd95ff65d37af12c784ac1

สำหรับการเข้าเดือยไม้เป็นการเข้าไม้ด้วยการบากและเจาะรูไม้ในอีกลักษณะหนึ่งที่ประกอบกันแล้วมีความแข็งแรงกว่าการเข้าไม้แบบอื่นๆ การเข้าเดือยเป็นการเข้าไม้เป็นที่นิยมอย่างยิ่งเนื่องจากความมีหลากหลายมากที่สุดในงานไม้และงานเฟอร์นิเจอร์ต่างๆในปัจจุบัน เป็นวิธีการที่ใช้กันในงานอุตสาหกรรมอย่างเช่น ทำลิ้นชัก ชั้นวางของ ตู้เก็บหนังสือ บันได เป็นต้น สามารถใช้การเข้าไม้แบบอื่นได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องคำนึงความเหมาะสมของรูปแบบและวิธีการผลิตต่างๆอีกด้วย การเข้าเดือยจึงเป็นขั้นตอนที่สะดวกสำหรับชิ้นงานหรือผลิตที่ต้องมีการประกอบ ทำให้ทางลูกค้าสั่งสินค้าไปแล้วไม่ยุ่งอยากเกินไปสำหรับการประกอบ ทางเราได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการเข้าเดือยศึกษาจากบทความต่อไปนี้กันเลย

การเข้าเดือยคือ

เป็นการนำไม้ 2 ชิ้นเข้าประกอบกันโดยให้ไม้ชิ้นหนึ่งถูกเจาะเป็นรูด้วยสิ่วหรือดอกสว่าน และที่ปลายไม้อีกชิ้นหนึ่งถูกผ่าและบากไม้ส่วนหนึ่งออกให้เหลือเป็นเดือย ใช้ส่วนที่เป็นเดือยสอดเข้าในรู โดยให้เดือยมีขนาดเดียวกับรูที่เจาะไว้ ซึ่งเมื่อประกอบกันแล้วต้องแข็งแรงเป็นชิ้นเดียวกัน ข้อมูลความหมายจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้กำหนดไว้ และที่สำคัญคือ ทั้งเดือยและรูต้องไม่หลวม ต้องคับยึดกันแน่น เมื่ออัดเดือยเข้าในรูแล้วใช้กาวหรือสลักยึดเดือยให้ไม้ทั้งสองชิ้นประกอบเข้าด้วยกัน [1]

https://www.thaicarpenter.com/images/column_1509096713/capture-20171028-082750.jpg

ขั้นตอนการเข้าเดือยไม้

เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์รูปแบบโครงสร้างของไม้ที่จะใช้งานจริง โดยกำหนดรูปแบบการเข้าเดือยดังกล่าว จากนั้นเตรียมเนื้อไม้ให้เหมาะสมกับชิ้นงาน ขั้นตอนแรกนำไม้ชิ้นที่หนึ่งกำหนดระยะตามสัดส่วนที่ต้องการทำการผ่าบากด้วยเครื่องเลื่อยวงเดือนหรือสิ่ว ขัดพื้นผิวที่หยาบออกด้วยกระดาษทราย จากนั้นนำไม้อีกชิ้นหนึ่งมากำหนดระยะสัดส่วนเท่ากับไม้ชิ้นแรกทำการเจาะหรือเซาะด้วยสว่านไฟฟ้า ไม้ทั้งสองชิ้นที่จะนำประกอบกันสามารถกำหนดเดือยตามชิ้นงานที่ต้องการไม่จำเป็นต้องอยู่ที่มุมปลายของไม้เสมอไป จากนั้นนำไม้ทั้งสองชิ้นประกอบเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า “การเข้าเดือยไม้” นั้นเอง  ตรวจเช็คการเข้าเดือยจะต้องแน่นและไม่หลวม อาจจะมีการใช้กาวหรือลิ่มเป็นตัวเสริมเพิ่มในงานไม้ โดยใช้ความยืดหยุ่นของข้อต่อและเดือย ถ้าหากใช้เป็นลิ่ม ตัวลิ่มต้องเป็นไม้เนื้อแน่นและแข็ง มีสัดส่วนความยาวประมาณ 1 ใน 3 ของช่องสอดไม้ ซึ่งมีทั้งลิ่มขาเดียวและลิ่มขาคู่ โดยที่ลิ่มขาคู่จะเพิ่มแรงอัดทำให้งานแน่นหนามากขึ้น [2]

ประโยชน์ของการเข้าเดือย

ข้อมูลจากแหล่าวและช่างศิลป์ไทยประดิษฐ์ได้ระบุไว้ว่าสะดวกต่อการใช้งานจริงตั้งแต่งานชิ้นเล็ก-ชิ้นใหญ่ ทำให้ไม้ยึดติดกันแน่น ไม่เสียสภาพไม้ เนื่องจากบางครั้งไม่สามารถตอกตะปูได้การเข้าเดือยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ยึดติดกันเหมือนตะปูเลยทีเดียว หรืองานที่เฟอร์นิเจอร์ที่ต้องประกอบก็นิยมเข้าเดือยสามารถทำให้ผู้บริโภคทำความเข้าใจได้ง่ายไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆเข้ามาช่วย อย่างเช่น การทำลิ้นชัก ตู้เสื้อผ้า วงกบประตู ชั้นวางของ หรืองานอื่นๆอีกมากมายเป็นต้น [2]

เดือยไม้
https://p.lnwfile.com/_/p/_raw/0e/p7/ua.jpg

รูปแบบลักษณะการเข้าเดือยไม้ที่นิยม

ข้อมูลจากกรมศิลปากรและกลุ่มวิชาการด้านช่างศิลป์ไทยระบุไว้ดังนี้  

1) การเข้าเดือยปากชน เป็นวิธีที่การทำงานได้รวดเร็ว และง่ายที่สุด การเข้าไม้โดยเจาะรูไม้ชิ้นหนึ่งและบากปลายไม้อีกชิ้นหนึ่ง เว้นส่วนที่ยื่นเลยส่วนที่บาก ใช้ส่วนที่ยื่นหรือเดือยสอดเข้าไปในร่องหรือรูที่เจาะไว้ 

2) การเข้าเดือยปาก 45 องศา หรือเข้าเดือยปากกบ เป็นการเข้าปากไม้โดยที่ต้องการให้ปลายไม้ชนชิดกัน ตัดปากไม้เป็นมุม 45 องศา ทำให้รอยต่อทั้งสองชิ้นเป็นมุมเฉียง 45 องศา อยู่ที่ปลายไม้ทั้ง 2 ด้าน ประกอบเข้าไม้มีเดือยยึดอยู่ภายใน 

3) การเข้าเดือยหางเหยี่ยวเดือยเดี่ยว และการเข้าเดือยหางเหยี่ยวเดือยแถวหรือเดือยหางเหยี่ยวประสาน เป็นการเข้าปากโดยกำหนดไม้ชิ้นหนึ่งทำหน้าที่เป็นพนังเพื่อยึดเหนี่ยวชิ้นงาน 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน ปลายไม้ทั้งสองผ่าเดือยเป็นรูปหางเหยี่ยว เกาะยึดกับร่อง อาศัยแรงยึดเกาะของกาวหรือวัสดุประสาน ช่วยให้เกิดความเหนียวแน่นของชิ้นไม้ การใช้เดือยหางเหยี่ยวเป็นวิธีการผลิตชิ้นงานที่นิยมใช้กันมากที่สุด และเป็นการเพิ่มคุณค่าของชิ้นงานให้มีค่าสูงขึ้น  เพราะการเข้าหางเหยี่ยวรับกำลังหรือแรงดึงได้ดีทำให้ชิ้นมีความมั่นคง 

 

4) การเข้าเดือยปากกริว เป็นการเข้าปากไม้สำหรับใช้งานที่มีลักษณะเป็นกรอบบานภายในบรรจุแผ่นไม้หรือกระจก ทำการตัดปากไม้ส่วนหนึ่งเป็นมุม 45 องศา ปากไม้จะประกอบกันระหว่างไม้สองชิ้น คือ ชิ้นตั้งและชิ้นนอน ส่วนอีกชิ้นหนึ่งถูกเซาะร่องเป็นรางเพื่อใช้สำหรับสอดริมแผ่นไม้ และแนวไม้ปากกริวจะใช้กบบัว ลอกบัว หรือทำเป็นคิ้วในตัวไม้กรอบ [2]

เดือยไม้เก่า
https://media.istockphoto.com/

จุดเด่นของการเข้าเดือย

เป็นเทคนิคที่ไม่ต้องอาศัยตะปูใช้เพียงไม้สองชิ้นก็ทำให้เกิดการเชื่อมต่อกันและยึดติดกันแน่น เป็นที่นิยมใช้วิธีการนี้ในงานอุตสาหกรรมไม้เป็นส่วนมาก การเข้าเดือยที่เสริมด้วยลิ่มเป็นตัวล็อคแทนตัวยึดอื่นได้อีกด้วย เพราะทำให้ไม้ไม่แตกหรือพัง สุดท้ายการเข้าเดือยสามารถประกอบชิ้นงานจนเป็นรูปร่างตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จรูปได้ด้วยตัวเองไม่ต้องอาศัยช่าง

ประเภทของเนื้อไม้

โดยข้อมูลจากกรมป่าไม้และช่างไม้ได้ระบุไว้ว่าไม้ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมสำหรับนำมาเข้าเดือยได้แยกตามประเภทความแข็งแรงของไม้ดังนี้ ไม้เนื้อแกร่ง เป็นไม้ที่อายุยาวนาน เนื้อไม้สีเข้มค่อนข้างแดง น้ำหนักไม่มาก แต่แข็งแรงกว่าไม้เนื้อแข็ง, ไม้เนื้อแข็ง เป็นไม้ที่มีอายุมากกว่าไม้เนื้ออ่อน ผิวสัมผัสของเนื้อไม้จะมีความมัน ลวดลายละเอียด เนื้อแน่น สีเข้ม น้ำหนักมาก แข็งแรงทนทาน, ไม้เนื้ออ่อนเป็นไม้โตเร็ว ลำต้นใหญ่ เนื้อค่อนข้างเหนียว แต่แปรรูปได้ง่าย เหมาะกับงานในที่ร่ม [2]

จากบทความข้างต้นที่กล่าวมาการเข้าเดือยมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับความเหมาะของชิ้นงานแต่การเข้าเดือยหางเหยี่ยวเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดเพราะมีความมั่นคงและแข็งแรงกว่าแบบอื่นๆ แต่การเข้าเดือยหางเหยี่ยวเป็นขั้นตอนที่ทำได้ยาก ผู้ผลิตต้องมีความชำนาญและมีความประณีต จึงจะทำให้การบาก การเจาะไม้สนิทเรียบร้อย สำหรับการใช้งานระยะยาวและงานไม้มีความสวยงาม ทั้งนี้การเข้าเดือยมีจุดเด่นที่ทนต่อแรงดึงและแรงกดทำให้รอยต่อไม่หลุดออกจากกันส่งผลให้ผลิตชิ้นงานได้มีประสิทธิและเป็นที่นิยมใช้ในทางอุตสาหกรรมไม้ สำหรับไม้ที่เลือกใช้งานถ้าหากเป็นไม้เก่าก็จะได้ไม้ที่มีความแห้ง ความแข็งแรงทนทาน ไม่โก่งงอ ทนต่อความชื้น เนื่องจากมีอายุที่ยาวนาน และไม้เก่านำมาประยุกต์ใช้งานใหม่ เพิ่มคุณประโยชน์ของไม้ได้มากขึ้น ไม่ต้องกังวลรอยเก่าของไม้ ถ้าหากเป็นไม้ใหม่ต้องผ่านกระบวนการอบแห้งที่ถูกต้อง ถึงจะสามารถนำไม้มาใช้งานได้

สำหรับท่านใดที่กำลังต้องการไม้เก่าคุณภาพดีมาใช้ในงานก่อสร้าง หรืองานประดิษฐ์สามารถเลือกซื้อสินค้าจากทางร้าน TWOMENWOOD ทางเรามีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำไม้ที่เหมาะสมกับคุณ มีสินค้าให้คุณเลือกได้หลายเกรดราคาเป็นกันเอง สำหรับท่านใดต้องการดูสินค้าด้วยตัวเอง เรามีหน้าร้านไม้เก่าอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี

หมายเหตุ ร้านเราจะขายไม้เก่าไทย เช่น ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เนื้อแข็ง สามารถตรวจเช็คราคาได้ทางข้างล่าง

ตรวจสอบราคาสินค้า

อ้างอิง