
สินค้า

เมื่อพูดถึงการใช้ประโยชน์ไม้สักแล้วองค์การสวนพฤกษศาสตร์ได้ให้ข้อมูลว่า ไม้สัก (teak) เป็นไม้ที่มีลวดลายสวยงาม ดูละเอียด เป็นธรรมชาติ และที่สำคัญจัดเป็นไม้ที่มีความทนทาน จึงเป็นวัสดุที่เหมาะกับการนำไปใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ต่อรถ ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือกสิกรรม รวมไปถึงแกะสลัก จะเห็นได้ว่าไม้สัก (teak) สามารถนำไปผลิตเป็นชิ้นงานต่าง ๆ ได้อย่างมากมายเลยทีเดียว

ไม้สัก (teak) ที่มีความทนทาน กันมด ปลวก และแมลงได้นั้น มักเป็น ไม้สัก เก่า(old teak) ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ซึ่งได้จากการรื้อถอดบ้านไม้สักเรือนเก่า ซึ่งเป็นไม้ที่มีความชื้นต่ำ จึงทำให้มีความทนทานสูง เมื่อนำไปใช้ก่อสร้างบ้านเรือนหรือผลิตเครื่องมือเครื่องใช้มักจะไม่ค่อยมีปัญหา ต่างจากไม้สักใหม่ที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน มักมีปัญหาเกี่ยวกับความชื้น หากนำมาสร้างบ้านเรือนหรือทำเฟอร์นิเจอร์จะไม่ทนต่อสภาพอากาศเท่า ไม้สัก เก่า(old teak) และเมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้ไม้มีการยืดและหดได้

ปัจจุบัน ไม้สัก เก่า(old teak) อาจหาได้ค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่ที่นำมาสร้างเฟอร์นิเจอร์มักเป็น ไม้สัก ใหม่ที่มีอายุไม่มากนัก และเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกอ้างว่าผลิตจาก ไม้สัก ก็อาจจะไม่ได้ใช้ไม้สักแท้100% เพราะไม้สักแท้ที่มีความทนทานสูงจำเป็นจะต้องใช้เวลาหลายสิบปีกว่าจะสามารถนำมาแปรรูปได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไม้สักเก่า(old teak) มีมูลค่ามากกว่าไม้สักชนิดอื่น ๆ อย่างไรก็ตามหากใครสนใจงานไม้เก่าคุณภาพดี หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับไม้สัก TWOMENWOOD สามารถให้คำตอบกับคุณได้ บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับไม้สัก(teak) โดยจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเจริญเติบโตแต่ละช่วงอายุของไม้สักให้ทราบกัน

ลักษณะทั่วไปของต้นสัก
จากข้อมูลของส่วนปลูกป่าภาคเอกชน สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ กล่าวว่า สักเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีการผลัดใบในช่วงฤดูร้อน จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการนำส่วนของลำต้นไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อาทิ สร้างที่อยู่อาศัย ทำเฟอร์นิเจอร์ และแกะสลัก ซึ่งการจะนำไปใช้งานในด้านต่าง ๆ นั้นจะต้องผ่านการแปรรูปก่อน เนื่องจากเป็นไม้ขนาดใหญ่ การจะนำส่วนของลำต้นไปใช้จึงต้องผ่านกระบวนการเลื่อยให้ได้ไม้เป็นแผ่น อย่างไรก็ตามไม้สักที่นิยมนำมาใช้งานมักเป็นไม้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป[1]

ลำต้น
ลำต้นมีลักษณะตรงเปลา สูงได้ถึง 30 เมตร โคนต้นจะมีลักษณะเป็นพูพอนเล็กน้อย กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกไม้หนา มีสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนแกมเทา เรียบหรือแตกเป็นร่องขนาดเล็กตามความยาวของลำต้น เนื้อไม้อ่อนถึงแข็งปานกลาง สีของไม้จะขึ้นอยู่กับชนิดของไม้สัก โดยมีตั้งแต่สีน้ำตาลทองไปจนถึงสีน้ำตาลแก่ จัดเป็นไม้เศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงธุรกิจไม้เก่าที่ให้บริการเกี่ยวกับไม้สักแปรรูป โดยจะนำลำต้นของไม้สักมาแปรรูปและใช้เป็นวัสดุก่อสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ รถ รวมถึงผลิตเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ประเภทต่าง ๆ ด้วย

ใบ
ใบสักเป็นใบเดี่ยว
โดยจะแตกออกจากกิ่งเป็นคู่ตรงข้ามกัน และแต่ละคู่จะตั้งฉากสลับกันไปตามความยาวของกิ่ง
ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปไข่กลับ ความยาวของใบจะอยู่ที่ 30–60 เซนติเมตร
ด้านบนและด้านล่างของใบจะมีผิวสัมผัสที่หยาบและสากมือ บริเวณท้องใบจะเป็นสีเขียว
หากเป็นใบอ่อน เมื่อนำมาขยี้จะมีสีแดง
โดยใบสักนั้นจะมีการร่วงหรือผลัดใบในช่วงฤดูร้อน หลังจากนั้นจะมีการแตกใบใหม่ในช่วงประมาณเดือนเมษายน-มิถุนายน[1–2]

ดอก
ดอกของต้นสักจัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ โดยจะมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน ซึ่งจะออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่แบบแยกแขนงบริเวณปลายกิ่ง ในส่วนของกลีบดอกจะมีสีขาวนวล โดยช่อดอกช่อแรกนั้นจะออกที่ปลายยอดสุดของแกนลำต้น จากนั้นจะออกดอกที่ปลายยอดของกิ่ง ทั้งนี้ดอกของต้นสักจะบานเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น ต่อมาจะได้รับการผสมจนกลายเป็นผลในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม[2]

ผลและเมล็ด
ผลสักจะมีลักษณะค่อนข้างกลม
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางจะอยู่ที่ 1–2 เซนติเมตร
โดยใน 1 ผลจะมีเมล็ดจำนวน 1–4 เมล็ด เมื่อผลแก่จัดจะเป็นสีน้ำตาล
ซึ่งผลจะเริ่มแก่ในเดือนพฤศจิกายน-มกราคม สำหรับเมล็ดจะมีลักษณะเป็นรูปไข่
ยาวประมาณ 0.6 เซนติเมตร
และกว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร
โดยเมล็ดจะเรียงตัวไปทางแนวตั้งของผลสัก และทุกเมล็ดจะมีเปลือกบาง ๆ หุ้มอยู่[2]

การเจริญเติบโตของไม้สัก
สักเป็นไม้ที่มีการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็วเมื่อเทียบกับไม้ชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีแรกจะเห็นว่ามีการเติบโตเร็วมาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเมล็ดพันธุ์หรือกล้าที่ใช้ปลูก สภาพพื้นที่ และการดูแลรักษา โดยทั่วไปแล้วต้นสักที่ถูกดูแลรักษาเป็นอย่างดี เมื่อมีอายุครบ 10 ปี ต้นจะมีความสูงเฉลี่ยมากกว่า 15 เมตรขึ้นไป ส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยจะมีมากกว่า 15 เซนติเมตร นอกจากนี้ใน 1 ไร่จะให้ผลผลิตที่สูงกว่า 13 ลูกบาศก์เมตร หลังจากนั้นความสูงจะลดลง แต่ในส่วนของความโตทางเส้นรอบวงของสักจะยังเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ[2]
การแปรรูปไม้สัก
ไม้สักเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกเนื่องจากคุณสมบัติเนื้อไม้ละเอียด ตกแต่งได้ง่าย ลวดลายสวยงาม และมีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ เมื่อนำไม้สักเก่า(old teak) ที่ทำมาจากไม้สักเรือนเก่า ที่ทำการรื้อถอนจากบ้านเก่า จากนั้นจึงนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ลักษณะของไม้ประเภทนี้จะมีสีออกน้ำตาลคล้ำ ซึ่งถือว่าเป็น ไม้สัก (teak) ที่มีคุณภาพดีที่สุด เพราะมีความชื้นทางธรรมชาติต่ำ และเมื่อนำมาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์จะมีราคาแพงที่สุดในบรรดาไม้สักประเภทอื่นๆ เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการหดตัวและรอยแตกของไม้ สำหรับอีกส่วนหนึ่งของ ไม้สัก (teak) เพิ่มมูลค่าไม้ด้านความแข็งแรง ความคงทนต่อการทำลายจากแมลงเจาะไม้เป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิต สามารถเพิ่มปริมาณไม้เพื่อเป็นวัตถุดิบระยะยาวเหมาะสมในเชิงอุตสาหกรรมอีกด้วย[4]
เปรียบเทียบไม้สักกับไม้ชนิดอื่นในกลุ่มไม้เนื้อแข็ง
เปรียบเทียบไม้สักกับไม้ชนิดอื่นในกลุ่มไม้เนื้อแข็ง

กระบวนการในเพิ่มมูลค่าของไม้สัก
ทำได้โดยใช้กระบวนการอัดไอน้ำแรงดันสูง และแช่ในน้ำส้มควันไม้จากไม้ใบกว้างอื่นๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงของสี ไม้ทนต่อการทำลายของแมลง เพิ่มอายุในการใช้งาน เพื่อให้การแปรรูปไม้เฟอร์นิเจอร์เป็นผลิตภัณฑ์นั้นที่มีองค์ประกอบในการที่ช่วยให้ผู้บริโภคทุกคนตัดสินใจในการซื้อจากคุณสมบัติดังนี้ ประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัย ความแข็งแรง โคร้างเหมาะสมทานทาน และประหยัด ความสะดวกสบายในการใช้งาน ความสวยงาม ขนาด สีสันสวยงามน่าใช้ รอพอสมควรไม่แพงแรงจนเกินไป ง่ายต่อการบำรุง การขนส่ง ไม่เกิดการชำรุดเสีย (ข้อมูลนักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้)[4]
ข้อมูลของกรมป่าไม้ได้ระบุไว้ว่า ไม้สักเป็นไม้ที่ผึ่งให้แห้งในอากาศได้ง่าย แข็งแรงและอยู่ตัวดี และยังมีความทนทานตามธรรมชาติสูงมาก ไม้สักสามารทำการเลื่อย การไส การเจาะ และการกลึงทำได้ง่ายสะดวกต่อการนำมาแปรรูปใช้งานและดัดแปลงมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ได้นำเนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เรือ รถ เสา เครื่องมือกสิกรรม เครื่องแกะสลัก และการก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะทำไม้พื้น ฝา กรอบประตูหน้าต่าง บานเรือน โต๊ะไม้ ส่วนประกอบต่างๆของอาคารบ้านเรือน เนื่องจากเป็นไม้ที่มีความสวยงาม ไส กบ ตกแต่งได้ง่าย จึงนิยมนำมาแปรรูปทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรีไทยหลายอย่าง ตลอดจนของเด็กเล่น ไม้บาง ไม้อัด และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ โดยรวมการใช้ประโยชน์ไม้สักจะใช้เนื้อไม้เป็นหลักประมาณร้อยละ 30 ในการสร้างบ้านเรือน เครื่องเรือน และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ส่วนเนื้อไม้ที่เหลืออีกร้อยละ 70 จะสูญเสียไประหว่างขั้นตอนกระบวนการผลิตและการแปรรูป เช่น เศษไม้ ปลายไม้ ขี้เลื่อยขี้กบ ได้นำส่วนนี้ไปทำแผ่นไม้ประกอบประเภทต่างๆ เช่น แผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใยไม้อัด และแผ่นใยไม้อัดซีเมนต์ สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าโดยการนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงอัดเม็ด ค่าความร้อนใกล้เคียงกับเนื้อไม้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ทางอ้อมของไม้สัก มีอยู่หลากหลายประการ เช่น เนื้อไม้และใบเป็นสมุนไพรช่วยแก้บวม ลดเบาหวาน ขับลมในลำไส้ แก้ไตพิการ เปลือกเป็นยาคุมธาตุ เป็นต้น
มาตรฐานไม้สักแปรรูป
โดยแบ่งแปรรูปออกเป็น 8 ชนิด ดังต่อไปนี้ ไม้กระดาน
เศษไม้กระดาน ไม้ดาดฟ้า ไม้ขอบดาดฟ้า ไม้ตับหนา ไม้ตับ เศษไม้ตับ และไม้หน้าเล็ก ทางเรามีประเภทและขนาดของไม้สักแปรรรูปที่ทางร้านขาย 2 นิ้ว 1..5 นิ้ว และ 1 นิ้ว
ประกอบด้วยไม้พื้น ไม้ฝา เสา ทางเรามีให้คุณเลือกสินค้าได้หลายเกรดเหมาะสมในการนำไปใช้งานได้จริง

การเจริญเติบโตของไม้สักแต่ละช่วงอายุทางเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก และความสูง
– ไม้สักที่มีอายุ 10 ปี จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ยที่ 15.01 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 17.0 เมตร
– ไม้สักที่มีอายุ 20 ปี จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ยที่ 22.90 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 23.0 เมตร
– ไม้สักที่มีอายุ 30 ปี จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ยที่ 27.86 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 26.0 เมตร
– ไม้สักที่มีอายุ 40 ปี จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ยที่ 31.36 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 27.5 เมตร
– ไม้สักที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ยที่ 33.89 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 28.0 เมตรขึ้นไป
– ไม้สักที่มีอายุ 100 ปี จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกเฉลี่ยที่ 40.6 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 32.6 เมตร[6]
การจำแนกชนิดของไม้สักมีดังต่อไปนี้
1.ไม้สักทอง มีเนื้อไม้เป็นเส้นตรงผ่าง่าย มีความแข็งแรงกว่าสักหยวก สีน้ำตาลเหลือง ลวดลายสวยงามตกแต่งได้ง่าย หรือเรียกกันว่าสีทอง สักหยวกและสักทองจะมีความคล้ายกันแต่มีขนาดร้องกว้างกว่าสักทอง
2) ไม้สักหยวก มีเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้ตกแต่งได้ง่าย
3) ไม้สักไข่ มีเนื้อไม้สีน้ำตาลเข้มปนเหลืองจะมีไขปน แปรรูปและตกแต่งได้ยาก
4) ไม้สักหิน มีเนื้อไม้สีน้ำตาลเข้มจะแข็งและเปราะกว่าสักทั่วไป ตกแต่งได้ง่าย
5) ไม้สักขี้ควาย มีเนื้อไม้สีเขียวปนน้ำตาล น้ำตาลแก่ น้ำตาลอ่อน
ปนคละกันในเนื้อไม้

ต้นสักที่ใหญ่และอายุมากที่สุดในโลก
ในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับต้นสักได้อ้างว่า ต้นสักที่มีขนาดใหญ่และอายุมากที่สุดในโลก ได้แก่ ต้นสักที่ได้รับชื่อพระราชทานนามว่า “มเหสักข์” ซึ่งมีอายุมากกว่า 1,500 ปี สูงถึง 47 เมตร ลำต้นเส้นวงรอบจะอยู่ที่ 10 เมตร กับอีก 23 เซนติเมตร และขนาดความโตจะอยู่ที่ 1020.7 เซนติเมตร เฉลี่ยแล้วจะโตขึ้นปีละ 1.3 เซนติเมตร โดยต้นดังกล่าวนั้นอยู่ในวนอุทยานต้นสักใหญ่ บ้านปางเกลือ ตำบลน้ำไคร้ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์[5]
สำหรับใครที่กำลังมองหาไม้เก่า ไม้จริง ไม้สักเก่า(old teak) คุณภาพดี รวมถึงไม้แปรรูปประเภทอื่น ๆ เช่น ไม้มะค่า ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เนื้อแข็ง TWOMENWOOD ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่คุณสามารถใช้บริการได้ เพราะเรามีบริการแปรรูปไม้ทุกรูปแบบ จัดส่งทั่วประเทศ โดยสร้างผลงานจากช่างมืออาชีพที่มากประสบการณ์ ใส่ใจในทุกขั้นตอนอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ผลงานที่ถูกใจและตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด สำหรับท่านใดต้องการดูสินค้าด้วยตัวเอง เรามีหน้าร้านไม้เก่าอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี
ตรวจสอบราคาสินค้า
อ้างอิง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไม้สักเก่า
1. ไม้สักเก่าคืออะไร?
ไม้สักเก่า (Old Teak Wood) คือไม้สักที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว เช่น จากบ้านเรือนไทยเก่า เฟอร์นิเจอร์เก่า หรือโครงสร้างอาคารเก่า
มีความแข็งแรง ทนทาน และลายไม้สวยงามมากกว่าไม้สักใหม่
2. ข้อดีของไม้สักเก่า
แข็งแรงและทนทาน เพราะเนื้อไม้แห้งสนิท ลดปัญหาการบิดงอ
ปลอดจากความชื้นและแมลง เนื่องจากผ่านการใช้งานมาแล้วหลายปี
ลายไม้สวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สีเข้มขึ้นตามอายุ
เหมาะกับงานตกแต่งและรีไซเคิล ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และโครงสร้างไม้
3. แหล่งที่มาของไม้สักเก่า
บ้านเรือนไทยเก่า
อาคารไม้เก่าที่ถูกรื้อถอน
เฟอร์นิเจอร์ไม้สักเก่าที่นำมารีไซเคิล
4. วิธีตรวจสอบว่าเป็นไม้สักเก่าจริงหรือไม่
สีไม้เข้มกว่าปกติ และมีผิวสัมผัสเรียบเนียน
เนื้อไม้แน่นและแข็งแรง ไม่มีความชื้นหลงเหลือ
ลายไม้ชัดเจนและมีเสน่ห์แบบธรรมชาติ
มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของน้ำมันไม้สัก
5. ไม้สักเก่านำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง?
เฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ เตียง
ประตูและหน้าต่างไม้สัก
พื้นไม้และผนังตกแต่งบ้าน
งานแกะสลักไม้และของตกแต่ง
6. ความแตกต่างระหว่างไม้สักเก่ากับไม้สักใหม่
ไม้สักเก่าแข็งแรงกว่า เพราะเนื้อไม้แห้งสนิท
ลายไม้สักเก่าชัดและสวยงามกว่าจากการใช้งานและอายุของไม้
ไม้สักเก่าปลวกและแมลงไม่ค่อยทำลาย ต่างจากไม้สักใหม่ที่ต้องอบกันปลวก
ไม้สักเก่ามีราคาสูงกว่า เพราะหายากและมีคุณภาพสูงกว่า
7. วิธีดูแลรักษาไม้สักเก่า
ทำความสะอาดด้วยผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำหมาด ๆ
ใช้น้ำมันหรือแว็กซ์เคลือบผิวเพื่อรักษาความเงางาม
หลีกเลี่ยงการโดนน้ำมากเกินไป
หากมีรอยขีดข่วน สามารถขัดแล้วลงน้ำมันใหม่ได้
8. ปัญหาที่พบบ่อยในไม้สักเก่า
หายากและมีราคาสูงกว่าปกติ
อาจมีตะปูหรือร่องรอยจากการใช้งานเดิม ต้องขัดแต่งใหม่
บางชิ้นอาจมีรอยแตกหรือรอยต่อจากอายุการใช้งาน
9. ราคาไม้สักเก่าแพงไหม?
โดยทั่วไปแพงกว่าไม้สักใหม่ เนื่องจากหายากและมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น
ราคาแตกต่างกันตามอายุ ขนาด และสภาพของไม้
10. ซื้อไม้สักเก่าได้จากที่ไหน?
ร้านขายไม้เก่าและตลาดไม้รีไซเคิล
ผู้รับเหมาที่รื้อถอนบ้านไม้เก่า
ร้านเฟอร์นิเจอร์ไม้สักมือสอง