Your Cart

โรงเลื่อย อุตสาหกรรมไม้ขั้นมูลฐานในการผลิตไม้แปรรูป

โรงเลื่อย อุตสาหกรรมไม้ขั้นมูลฐานในการผลิตไม้แปรรูป

https://www.เครื่องเลื่อย.net/images/editor/77365.jpg

กรมป่าไม้กล่าวว่า ในปัจจุบันการแปรรูปไม้ยังคงดำเนินการกันอย่างต่อเนื่อง เพราะไม้เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย แต่ก่อนจะนำไปใช้งานจำเป็นต้องผ่านกระบวนการแปรรูปก่อน ในกรณีที่ไม่ใช่ไม้หวงห้ามนั้นไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนนำมาแปรรูป ยกเว้นการแปรรูปที่เข้าข่ายลักษณะการตั้ง โรง เลื่อย ไม้ แปรรูป หรือโรงงานแปรรูปไม้ ตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 [1]

ทำความรู้จักกับ โรง เลื่อย

สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้กล่าวว่า โรง เลื่อย หรือโรงงานแปรรูปไม้ (Sawmill) หมายถึง สถานที่ที่นำไม้ซุงที่ได้จากการตัดโค่นจากป่าธรรมชาติ หรือไม้ที่ตัดจากสวนป่าปลูก มาเลื่อยเพื่อแปรรูปให้เป็นไม้แผ่นกระดาน หากมีการใช้เลื่อยจักรวงเดือนจะเรียกว่าโรงเลื่อยจักร ซึ่งสถานที่ดังกล่าวจะต้องผ่านการขออนุญาตตั้ง โรง เลื่อย หรือโรงงานแปรรูปไม้ให้ถูกกฎหมายก่อน ประกอบกับการเพิ่มของประชากรภายในประเทศมีมากขึ้นทำให้อัตราการใช้ไม้เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร  นับเป็นอุตสาหกรรมไม้ขั้นมูลฐานในการใช้ประโยชน์ไม้ท่อน ซึ่งไม้ที่ผ่านการแปรรูปแล้วมักจะขายได้ราคาดี เพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้ง่ายนั่นเอง [2]

การแปรรูปไม้
https://www.matichonweekly.com/wp-content/uploads/2019/08/DSC05779-1024x576.jpg

ขั้นตอนการนำไม้เข้าสู่ โรง เลื่อย เพื่อแปรรูป

1.จัดหาวัตถุดิบ ก่อนอื่นผู้ประกอบการโรง เลื่อย ไม้ แปรรูป จะต้องจัดหาวัตถุดิบโดยการรับซื้อไม้หน้าโรงจากลูกค้า รับซื้อไม้จากจุดซื้อ หรือจัดการทำแปลงไม้ หากเป็น โรง เลื่อย ไม้ ยางพารา โดยเฉพาะ สามารถสั่งซื้อไม้ยางพาราจากเจ้าของสวนโดยตรง หรือแหล่งขายไม้ยางพาราอื่น ๆ ก็ได้
2.ตรวจสอบสินค้านำเข้า ในกรณีเป็นไม้นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ไม้สักนำเข้าจากประเทศเมียนมาร์ที่เดินทางขนส่งสินค้าโดยเรือ เมื่อมาถึงประเทศไทยแล้วจะต้องมีการแจ้งเพื่อขออนุญาตทำการขนถ่ายสินค้าจากเจ้าของไม้ โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะเดินทางมาบนเรือเพื่อตรวจปล่อยสินค้าโดยการเปิดระวาง ตรวจสอบชนิด ขนาดและปริมาณของไม้ให้ตรงตามเอกสารใบนำเข้าสินค้าเพื่อป้องกันการลักลอบทำผิดกฎหมาย และเมื่อผ่านขั้นตอนนี้แล้วก็จะสามารถขนถ่ายสินค้าออกจากเรือใหญ่ได้
3.ขนส่งไม้ไปยังโรง เลื่อย หรือโรงงานแปรรูปไม้ หากเป็นไม้นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่เดินทางขนส่งสินค้าโดยเรือ เมื่อเดินทางถึงจุดหมายปลายทางแล้วจะถูกขนย้ายจากเรือลำใหญ่สู่เรือลำเล็ก และบางส่วนอาจถูกลอยกลางน้ำเพื่อให้คนงานผูกเป็นแพไม้ขนาดใหญ่ เพราะถ้าหากนำไม้ไปกองไว้บนบกจะทำให้แตกได้ นอกจากนี้การแช่ไม้ไว้ในน้ำจะช่วยให้เนื้อไม้นิ่มและเลื่อยง่ายขึ้นอีกด้วย เมื่อขนย้ายไปถึงโรง เลื่อย ไม้ แปรรูปแล้ว ต้องทำบัญชีติดเลขสังกะสีหรือเลขไม้ให้เรียบร้อย จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการเลื่อยไม้หรือแปรรูปไม้ในขั้นตอนถัดไป [3]

https://www.livinginsider.com/upload/topic1355/63b40a54bd3ef_94716.jpeg

คุณสมบัติของไม้ที่ควรพิจารณาก่อนนำมาแปรรูป

1.ขนาดของไม้ เป็นสิ่งสำคัญที่ โรง เลื่อย ไม้ แปรรูป หรือ โรง เลื่อย ไม้ ยางพารา จะต้องพิจารณาก่อนนำไม้มาแปรรูป ไม้ส่วนใหญ่ที่ใช้แปรรูปจะต้องมีขนาดใหญ่มากพอสมควร โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการใช้เนื้อไม้แท้ค่อนข้างมาก จำเป็นต้องเลือกไม้ที่มีส่วนของแก่นไม้มากกว่ากระพี้ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้วขึ้นไป ลำต้นควรมีลักษณะตรงเปลากลม ไม่คดงอ ในกรณีที่เป็นไม้ขนาดเล็กและยังสดอยู่มักจะมีการโค้งงอในขณะเลื่อย และมีการแตกร้าวค่อนข้างมาก จำเป็นต้องเลื่อยไม้ให้มีขนาดสั้น โดยมีความยาวประมาณ 1.50 – 2.50 เมตร และควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6–9 นิ้ว

2.คุณภาพของไม้ ถือเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูปไม้ โดยไม้ที่จะนำมาแปรรูปใน โรง เลื่อย นั้นจำเป็นต้องเป็นไม้คุณภาพดี มีตำหนิน้อยที่สุด หรือไม่มีเลยยิ่งดี เพราะถ้าเป็นไม้ที่มีตำหนิเยอะจะทำให้ได้เนื้อไม้น้อยลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการขาดทุน
3.แหล่งที่มาของไม้ เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรทราบ เพราะไม้แต่ละพื้นที่มักจะมีลักษณะหรือคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เช่น หากเป็นไม้ที่มาจากภูมิประเทศที่มีแมลงรบกวนมากก็อาจทำให้ไม้ที่ได้มีตำหนิเยอะ เพราะถูกแมลงกัดแทะหรือทำลาย แต่ถ้าหากเป็นไม้ที่มาจากป่าธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์จะทำให้ไม้ที่ได้มีคุณภาพดีมากขึ้น [2]

แปรรูปไม้
https://www.liveabout.com/thmb/gU-cT2vCGGStSA_siHiuZ4YY9j0=/1500x0/filters:no_upscale():max_bytes(150000):strip_icc()/GettyImages-177838599-573907f03df78c6bb00ea986.jpg

เทคนิคการเลื่อยเพื่อแปรรูปไม้

การนำไม้ซุงเข้าสู่ โรง เลื่อย เพื่อแปรรูปเป็นไม้แผ่นกระดานจะมีวิธีการเลื่อยอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่จะมีอยู่ 2 วิธีที่ให้ผลผลิตสูงสุด และได้รับความนิยมมากที่สุด ดังนี้

1.การเลื่อยดะ (Through & Through) เป็นวิธีที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมไม้สำหรับทำเครื่องเรือนหรืองานฝีมือ หรืองานที่ต้องการเลื่อยไม้ขนาดเล็ก โดยขั้นตอนแรกนำไม้ซุงมาเลื่อยเปิดปีกออกด้านหนึ่งก่อน เสร็จแล้วทำการกลับไม้ซุง โดยด้านที่เปิดปีกวางบนแท่นเลื่อย จากนั้นลงมือเลื่อยตามขนาดที่ต้องการ วิธีนี้จะช่วยลดขั้นตอนการปรับเปลี่ยนด้านเพื่อเลื่อยไม้ลงได้ แต่ในขณะเดียวกันจะทำให้ได้ผลผลิตค่อนข้างน้อย เพราะมีการซอยข้างไม้แผ่นมากกว่าปกติ จึงทำให้สูญเสียเนื้อไม้มากขึ้น
2.การเลื่อยเปิดปีก 2 ข้าง (Cant sawing) เป็นการนำไม้ซุงเข้าสู่ โรง เลื่อย ไม้ แปรรูป เพื่อเลื่อยเปิดปีกทีละด้านจนได้ไม้เหลี่ยมที่สามารถนำไปเลื่อยออกตามขนาดและคุณภาพที่ต้องการได้ ถือเป็นวิธีเลื่อยไม้ที่นิยมมากที่สุด เพราะมีการซอยข้างไม้แผ่นน้อย จึงทำให้อัตราส่วนของไม้แปรรูปที่ได้ค่อนข้างสูง และยังสามารถกำหนดความกว้างของไม้ตามความต้องการได้อีกด้วย[4]

การแปรรูปไม้
https://www.mattcremona.com/wp-content/uploads/2020/02/8-first-slices.jpg

วิธีการเข้าไม้รูปแบบต่าง ๆ

การเข้าไม้ หรือการต่อไม้ คือ การนำไม้ 2 ท่อนขึ้นไปมาต่อกันในบริเวณมุมหรือกลางไม้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ขนาดและรูปทรงของไม้ตามที่ต้องการ ส่วนใหญ่จะพบในการก่อสร้างแบบโบราณ และงานเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งการเข้าไม้หรือต่อไม้นั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

1.การเข้าไม้แบบตรง (Straight Joint) เป็นการต่อชนไม้แบบธรรมดาแล้วยึดด้วยตะปูหรือกาวเท่านั้น โดยปละจะสังเกตเห็นรอยต่อของไม้อย่างชัดเจน ซึ่งการเข้าไม้ด้วยวิธีนี้จะทำได้ง่ายและรวดเร็ว โดยทั่วไปที่ไม่ต้องการการยึดต่อที่แข็งแรงมากนัก
2.การเข้าไม้แบบบังใบ (Rabbet Joint) เป็นการบากไม้ให้มีลักษณะเป็นรูปตัวแอล (L) หรือทำให้มีรอยต่อช่องเป็นมุม 90 องศา โดยจะนำไม้มาบากให้มีความลึกประมาณ 1 ใน 4 ของความหนาของไม้ และขั้นตอนสุดท้ายทำการยึดติดไม้เข้ากันด้วยตะปูหรือกาว ซึ่งการเข้าไม้ด้วยวิธีนี้มักใช้กับการทำลิ้นชัก หรือตู้เก็บหนังสือ
3.การเข้าไม้แบบเดือยกลม (Dowel Joint) เป็นการนำไม้ท่อนหนึ่งที่เรียกว่าตัวเดือยมาเป็นแกน ซึ่งจะมีลักษณะยื่นออกมา และใช้ไม้อีกท่อนหนึ่งที่เรียกว่ารูเดือยมาประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งไม้ดังกล่าวจะถูกเจาะให้มีรูขนาดพอดีกันกับตัวเดือย นิยมใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ เพราะมีความแข็งแรงมาก ทำได้ง่าย รวดเร็ว และประกอบกันได้ง่าย
4.การเข้าไม้แบบบากร่อง (Dado joint) เป็นการนำไม้สองท่อนมาทำให้ส่วนปลายที่จะเข้าไม้ได้ฉาก จากนั้นวางตำแหน่งที่จะเข้าไม้กับไม้อีกท่อนแล้วบากไม้ให้เป็นร่องพอดีกัน เสร็จแล้วยึดด้วยกาวลาเท็กซ์และตะปู การเข้าไม้วิธีนี้ถือว่ามีความแข็งแรง นิยมใช้กับการทำลิ้นชัก ตู้เก็บหนังสือ ชั้นวางของ บันได เป็นต้น
5.การเข้าไม้แบบบากร่องหางเหยี่ยว (Dovetail Wood Joint) เป็นการเซาะร่องปลายไม้ด้านหนึ่งให้เป็นเดือยรูปสี่เหลี่ยมคางหมู โดยมีลักษณะเป็นแถวเรียงกันไปเรียกว่าเดือย และตัดปลายไม้อีกท่อนหนึ่งให้มีลักษณะเดียวกัน แต่จะใช้เป็นส่วนหาง จากนั้นนำไม้ทั้งสองท่อนมาล็อคเข้ากันให้พอดี เสร็จแล้วยึดด้วยกาว นิยมใช้ในการเข้ามุมไม้สำหรับการทำลิ้นชัก และเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการความสวยงามและความแข็งแรง
6.การเข้าไม้แบบร่องลิ้น (Tongue and Groove) เป็นการนำไม้สองแผ่นมายึดเข้ากันบนจากขอบของไม้แทนด้านปลายของไม้ ซึ่งขอบด้านหนึ่งของไม้จะมีชิ้นส่วนที่ยื่นออกมาเรียกว่าลิ้น นำมาประกบเข้ากับชิ้นไม้อีกหนึ่งชิ้นที่ทำเป็นร่องไว้อย่างพอดี และสามารถเสริมด้วยกาวได้ การเข้าไม้วิธีนี้มักใช้กับไม้พื้น หรือการทำประตู ซึ่งจะช่วยซ่อนรอยต่อของไม้ได้ดี
7.การเข้าไม้แบบฟิงเกอร์ จอยซ์ลามิเนต (FHJ : Finger Joint Laminate) เป็นการนำไม้ที่ผ่านการคัดแล้วมาซอยให้มีขนาดเล็กลง จากนั้นต่อให้ยาวขึ้น โดยใช้ส่วนหัวและท้ายของชิ้นไม้ บากรอยต่อด้วยเครื่องจักรที่มีลักษณะคล้ายมือประสาน ต่อมาทากาวชนิดพิเศษแล้วต่อประสานกันให้เป็นไม้ขนาดยาว ในประเทศไทยมักพบในโรง เลื่อย ไม้ ยางพารา เพราะไม้ที่ใช้ในระบบอุตสาหกรรมมีไม่เพียงพอ ซึ่งไม้ยางพาราก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เหมาะกับการเข้าไม้ด้วยวิธีดังกล่าว โดยจะช่วยป้องกันปัญหาการเสียรูปทรงและการบิดตัวของไม้ธรรมชาติเมื่อแปรรูปเป็นแผ่นยาว [5]

จะเห็นได้ว่าโรง เลื่อย ไม้ ยางพารา หรือ โรง เลื่อย ไม้ แปรรูปต่าง ๆ นั้นมีหน้าที่นำไม้จริงมาเลื่อยเพื่อแปรรูปไม้ให้ได้ขนาดความหนาและความกว้างตามที่ต้องการ และส่งออกขายให้ลูกค้าต่อไป โดยการแปรรูปไม้จะทำให้ผู้ประกอบการขายไม้ได้ราคาดีขึ้น เพราะไม้แปรรูปที่ได้นั้นสามารถนำไปใช้งานได้ทันที เช่นเดียวกับ TWOMENWOOD โรงไม้ของเรามีสินค้าไม้แปรรูป และไม้เก่าคุณภาพดี พร้อมจำหน่ายและส่งทั่วประเทศไทย สำหรับท่านใดต้องการดูสินค้าด้วยตัวเอง เรามีหน้าร้านไม้เก่าอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี

หมายเหตุ ร้านเรามีไม้หลายประเภทขายไม่ว่าจะเป็น ไม้1.5นิ้ว ไม้2นิ้ว ไม้พื้น-ไม้ระแนง ไม้เสา ไม้ฝา และมีไม้เก่าไทย เช่น ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เนื้อแข็ง สามารถตรวจเช็คราคาได้ทางข้างล่าง

ตรวจสอบราคาสินค้า

อ้างอิง