สินค้า
ชนิด ของ ไม้ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้กล่าวว่า การนำวัสดุอย่างไม้มาใช้งานได้รับความนิยมมาตั้งแต่ในอดีต จนกระทั่งในปัจจุบันการใช้ไม้ก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ แต่ทว่าจำนวนของไม้จริงนั้นอาจลดลง ในขณะเดียวกันไม้เทียมหรือไม้สังเคราะห์ก็มีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไม้จากธรรมชาตินั้นมีค่อนข้างน้อย และต้องรอเป็นเวลานานหลายปีกว่าจะตัดมาใช้งานได้ ไม้ที่มีในท้องตลาด มีทั้ง ไม้เนื้อปานแกร่ง ไม้เนื้อแข็ง ไม้เนื้ออ่อน ในปัจจุบัน ชนิด ของ ไม้ เก่าไทยที่นิยมนำมาใช้ก็จะเป็นไม้เต็ง ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้ยาง เป็นต้น [1]
เมื่อเทียบกับอดีตแล้ว บ้านหรือเรือนที่ทำจากไม้มีจำนวนลดลง นั่นคงเป็นเพราะว่าวัสดุจากธรรมชาติอย่างไม้มีจำนวนน้อยลงนั่นเอง ถ้าหากจะปลูกเพื่อนำมาใช้งานก็คงต้องรออยู่นานหลายปี จึงทำให้ผู้คนเริ่มหันไปใช้วัสดุอื่นในการสร้างบ้านและเรือนแทน เพราะวัสดุเหล่านั้นหาได้ง่าย อย่างไรก็ตามความนิยมของไม้ก็ไม่ได้เสื่อมลงแต่อย่างใด เพียงแค่คนยุคใหม่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมในปัจจุบันก็เท่านั้นเอง ไม้แต่ละชนิดนั้นก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ถึงแม้จะเรียกว่าไม้เหมือนกัน เราจึงต้องศึกษา และ จำแนกการใช้งานของไม้แต่ละประเภทให้ถูกต้องกับคุณสมบัติและการใช้งานของไม้
การแบ่งประเภทของไม้จริงที่ใช้ในปัจจุบัน
• ไม้เนื้ออ่อน ตามหลักวิชาการทางลักษณะโครงสร้างไม้ก็คือไม้ที่เนื้อไม้ไม่มีรู (non-porous wood) มักเป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าไม้เนื้อแข็ง ลำต้นมีขนาดใหญ่ เนื้อไม้ค่อนข้างเหนียว วงปีกว้าง สีของเนื้อไม้ดูจางหรือค่อนข้างซีด แข็งแรงและทนทานน้อยกว่าไม้เนื้อแข็ง จึงทำให้อายุการใช้งานค่อนข้างสั้น เพราะไม่ค่อยทนต่อสภาพอากาศและไม่สามารถรับน้ำหนักได้มากนัก อีกทั้งยังเป็นไม้ที่ปลวก มอดและแมลงสามารถเข้าทำลายได้ง่าย จึงนิยมใช้ในงานตกแต่งภายใน และแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงงานที่เน้นความสวยงามมากกว่าความแข็งแรง
• ไม้เนื้อแข็ง จัดเป็นไม้ที่มีคุณสมบัติตอบโจทย์การใช้งานในหลาย ๆ ด้านพอสมควร ไม้เนื้อแข็งจะมีอัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าไม้เนื้ออ่อน ส่วนใหญ่ไม้ที่นำมาใช้ในงานก่อสร้างและงานตกแต่งภายนอกมักจะมีอายุหลายสิบปี ซึ่งจะมีวงปีมากกว่าไม้เนื้ออ่อน นอกจากนี้ไม้เนื้อเข็งนั้นจะมีน้ำหนักค่อนข้างมาก และยังมีสี ลวดลายที่ชัดเจนขึ้นตามอายุของไม้อีกด้วยโดยทั่วไปผิวสัมผัสของไม้เนื้อแข็งจะมีความมัน เนื้อแน่น ลวดลายละเอียด แข็งแรงและทนทานสูง จึงนิยมใช้เป็นวัสดุโครงสร้าง งานก่อสร้างและตกแต่งภายนอก งานปูพื้น รวมถึงงานเฟอร์นิเจอร์
• ไม้เนื้อแกร่ง เป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้ามากที่สุด และมีลายไม้ที่ละเอียดกว่าไม้ประเภทอื่นๆ เป็นไม้ที่นำมาเลื่อย ไส หรือตกแต่งได้ยากมาก ถือเป็นไม้ที่มีความแข็งแรงและทนทานมากเป็นพิเศษ โดยเฉลี่ยอายุของไม้จะไม่ต่ำกว่า 60–70 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ไม้เนื้อแกร่งจะมีน้ำหนักไม่มากนัก แต่มีความแข็งกว่าไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้มีสีเข้มค่อนไปทางสีแดง และวงปีจะถี่กว่าไม้เนื้ออ่อนและไม้เนื้อแข็ง ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นโครงสร้าง เช่น เสา คาน ตง ขื่อ และพื้น เป็นต้น [2]
ไม้เนื้อแข็งและไม้เนื้ออ่อน ความแตกต่างและการใช้งาน
ชนิด ของ ไม้ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักตามลักษณะทางกายภาพและการใช้งาน ได้แก่ ไม้เนื้อแข็ง และ ไม้เนื้ออ่อน ซึ่งแต่ละประเภทมีคุณสมบัติและข้อดีที่ตอบโจทย์งานที่แตกต่างกัน
ไม้เนื้อแข็ง (Hardwood)
•ลักษณะเด่น
ไม้เนื้อแข็งมาจากต้นไม้ใบกว้าง มีวงปีแน่นหนา เนื้อไม้แข็งแรงและมีความหนาแน่นสูง
ตัวอย่างชนิดของไม้: ไม้สัก ไม้พะยูง ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้ประดู่
เนื้อไม้มีสีสวยงาม ลวดลายเด่นชัด และความคงทนต่อสภาพอากาศ
•การใช้งาน:
ใช้สำหรับงานก่อสร้าง เช่น เสา คาน พื้น และบันได
เหมาะสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ระดับพรีเมียมที่ต้องการความแข็งแรงและทนทาน เช่น โต๊ะไม้ เตียงไม้ หรือชั้นวางของ
•ข้อควรระวัง:
น้ำหนักมาก ต้นทุนสูง และอาจต้องใช้เทคนิคพิเศษในการแปรรูป [6]
ไม้เนื้ออ่อน (Softwood)
•ลักษณะเด่น:
มาจากต้นไม้ใบเลี้ยงเดี่ยวหรือไม้สน ส่วนใหญ่มีวงปีห่างกว่า เนื้อไม้เบา และเนื้อสัมผัสนุ่มกว่าไม้เนื้อแข็ง
ตัวอย่างชนิดของไม้: ไม้สน (สนสองใบ, สนสามใบ), ไม้ยาง
ราคาย่อมเยาและหาได้ง่าย
•การใช้งาน:
ใช้ในงานตกแต่งภายใน เช่น ฝ้าเพดาน ผนัง หรือของแต่งบ้าน
เหมาะกับการทำเฟอร์นิเจอร์น้ำหนักเบา เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และชั้นวางที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก
•ข้อควรระวัง:
ความทนทานน้อยกว่าไม้เนื้อแข็ง และอาจเกิดรอยหรือความเสียหายจากปลวกได้ง่าย [6]
ชนิด ของ ไม้ ที่ได้รับความนิยม มีอะไรบ้าง และวิธีดูลวดลายและสีของไม้
• ไม้สัก ลักษณะคุณสมบัติ เป็นไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุดเป็นไม้เนื้ออ่อนถึงแข็งปานกลาง (ขึ้นอยู่กับอายุของไม้) เนื้อไม้ละเอียด ลวดลายสวยงาม โดยจะมีสีน้ำตาลทองไปจนถึงน้ำตาลเข้ม นับเป็นไม้ที่สามารถนำมาแปรรูปได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีน้ำยางชนิดหนึ่งที่ปลวกและแมลงไม่ค่อยชอบด้วย
• ไม้มะค่า เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความทนทาน เนื้อไม้หยาบ แน่น มีความเรียบและสม่ำเสมอ ลวดลายไม้มีลักษณะคล้ายกับไม้สัก แต่เนื้อไม้จะมีสีเหลืองอ่อนไปจนถึงแดงอมส้ม (ขึ้นอยู่กับอายุของไม้มะค่า) ถือเป็นไม้ที่สามารถรับน้ำหนักและแรงกระแทกได้ค่อนข้างดีพอสมควร นอกจากนี้ยังทนต่อมอด ปลวก ความชื้นและเชื้อราอีกด้วย
• ไม้ประดู่ เป็นไม้เนื้อแข็ง มีกลิ่นหอม เนื้อไม้จะมีความละเอียดปานกลาง โดยจะมีตั้งแต่สีชมพูอมส้ม สีแดงอมเหลือง ไปจนถึงสีอิฐแก่ ในส่วนของสีเส้นเสี้ยนจะแก่กว่าสีพื้น ลายเสี้ยนสับสนและเป็นริ้วสวยงาม ชักเงาได้ดี จัดเป็นไม้อีกหนึ่งชนิดที่มีความแข็งแรงและทนทาน
• ไม้แดง เป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้ค่อนข้างแน่น โดยเนื้อไม้จะมีสีน้ำตาลอมแดง ลายเส้นสีเข้มสวยงาม และมีจุดดำแทรกอยู่ในเนื้อไม้ด้วย เสี้ยนเป็นลูกคลื่น ละเอียดพอประมาณ แข็ง เหนียว มีลายสวยงามชักเงาได้ดี หากไม้แดงมีอายุมากขึ้นจะทำให้สีของไม้เข้มขึ้นตามไปด้วย จัดเป็นไม้อีกหนึ่งชนิดที่มีความทนทาน สามารถรับน้ำหนักได้ดี
• ไม้ยาง ลักษณะและคุณสมบัติ เป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อไม้มีความหยาบ แต่อ่อนตัวพอสมควร มีสีน้ำตาลปนแดง ในส่วนของเสี้ยนจะมีขนาดใหญ่ ซึ่งไม้ยางพารานั้นจะมีสีโทนอ่อน จึงนำไปตกแต่งเพิ่มเติมได้ไม่ยาก [3]
วิธีการเลือกใช้ไม้ให้เหมาะสมกับงาน
• ไม้สัก เหมาะกับงานตกแต่งภายในที่ต้องใช้ความประณีตและความสวยงาม ในขณะเดียวกันก็ยังมีคุณสมบัติที่ทนทาน ซึ่งสามารถนำไปแปรรูปแล้วทำเป็นประตู หน้าต่าง เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้
• ไม้มะค่า เป็นไม้ที่เลื่อย และไสกบได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเนื้อไม้จะแข็งและแน่นมาก แต่เมื่อไม้แห้งแล้วจะสามารถนำไปตกแต่งได้ง่าย ไม่ว่าจะขัดหรือชักเงาก็ทำได้ดี นิยมใช้ทำเป็นวัสดุก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทต่าง ๆ
• ไม้ประดู่ เป็นไม้ที่สามารถนำมาไสกบ ตกแต่ง และชักเงาได้ค่อนข้างดี แต่จะตอกตะปูได้ยาก เนื่องจากเป็นไม้เนื้อแข็ง ซึ่งเหมาะกับการนำไปใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้เก็บของ เกวียน รางกบ ด้ามเครื่องมือ งานแกะสลัก เป็นต้น
• ไม้แดง เป็นไม้เนื้อแข็งที่เหมาะกับการนำไปก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือทางกสิกรรม รวมถึงด้ามเครื่องมือต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่น เสา คาน ตง สะพาน เกวียน เรือ หมอนรถไฟ เป็นต้น
• ไม้ยาง เป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถเลื่อยหรือผ่าได้ง่าย ในขณะเดียวกันอัตราการยืดหดและบิดงอตามสภาพอากาศก็มีมากเช่นกัน จึงเหมาะกับการใช้เป็นส่วนประกอบภายในบ้าน หรือส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ต้องรับน้ำหนัก และในปัจจุบันยังนิยมนำไม้ยางไปทำเฟอร์นิเจอร์อีกด้วย [3]
ข้อดีของการนำไม้มาใช้งาน
• ประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เพราะการก่อสร้างด้วยไม้จะใช้เวลาสั้นกว่างานก่อสร้างประเภทคอนกรีต จึงช่วยประหยัดต้นทุนเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ได้พอสมควร
• ป้องกันความร้อนได้ดี โดยส่วนใหญ่แล้วไม้จะเป็นวัสดุที่ไม่ค่อยอมความร้อนไว้มากนัก จึงทำให้ความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในได้ค่อนข้างยาก ซึ่งคุณสมบัตินี้จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ไม่มากก็น้อย
• เก็บเสียงได้ดี เพราะไม้เป็นวัสดุที่สามารถดูดซับเสียงได้ดี เมื่อเทียบกับวัสดุประเภทอื่นแล้ว ไม้ถือเป็นวัสดุที่มีอัตราความเร็วของคลื่นเสียงที่ค่อนข้างต่ำ จึงสามารถช่วยเก็บเสียงได้ดีนั่นเอง
• ปลอดภัยจากอันตรายเมื่อไฟไหม้ อาจฟังดูแปลก ๆ เพราะหลายคนคิดว่าไม้จะเป็นวัตถุไวไฟ แต่ที่กำลังกล่าวถึงคือการหนีจากภัยอันตรายเมื่อเกิดไฟไหม้ ซึ่งอาคารบ้านเรือนที่ทำจากไม้จะสามารถพังทลายได้ง่ายกว่า อีกทั้งยังช่วยรักษาความแข็งแรงในขณะที่เกิดการเผาไหม้ได้ดีอีกด้วย
• ช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติ ซึ่งสามารถปลูกทดแทนไม้ที่ถูกตัดไปได้ ต่างจากวัสดุอื่น ๆ ที่ไม่สามารถหาได้จากธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการตัดไม้บ่อย ๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก [4]
การใช้ประโยชน์จากไม้
ในแง่ของการใช้ประโยชน์ ไม้ให้ประโยชน์มากมายหลายอย่าง แต่ก่อนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ มักจะต้องผ่านกรรมวิธีในการแปรรูปก่อน ไม่ว่าจะใช้เป็นเชื้อเพลิง ทำเครื่องมือเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ อาวุธ เครื่องดนตรี ไปจนถึงวัสดุก่อสร้าง ทั้งนี้การใช้งานจะขึ้นอยู่กับ ชนิด ของ ไม้ จะเห็นได้ว่าวัสดุอย่างไม้นั้นมีประโยชน์มาก ๆ และไม้ก็มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน สำหรับใครที่ต้องการใช้ไม้ในการก่อสร้างหรือทำเฟอร์นิเจอร์ โรงไม้ของเราก็มีสินค้าไม้เก่า และไม้แปรรูปชนิดต่าง ๆ จำหน่ายด้วย [5]
เคล็ดลับการดูแลไม้แต่ละชนิด
ชนิด ของ ไม้ มีความหลากหลาย ทั้งในแง่ของคุณสมบัติ ความสวยงาม และการใช้งาน ดังนั้น การดูแลรักษาจึงควรเหมาะสมกับชนิดของไม้ เพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนานและคงความสวยงามไว้ได้อย่างยาวนาน
1. การดูแลไม้เนื้อแข็ง
ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้มะค่า และไม้พะยูง มีความทนทานและเหมาะสำหรับงานภายนอก
เคลือบน้ำมันหรือแลคเกอร์: การเคลือบผิวไม้ช่วยป้องกันแสงแดดและความชื้นได้ดี
หลีกเลี่ยงการขีดข่วน: แม้จะทนทาน แต่รอยขีดข่วนลึกอาจทำให้ไม้เสียลวดลาย
ทำความสะอาด: ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ด และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาทำความสะอาดรุนแรงที่อาจกัดกร่อนผิวไม้ [7] [8]
2. การดูแลไม้เนื้ออ่อน
ไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สน ไม้ยาง มักใช้สำหรับงานตกแต่งภายใน
การเคลือบป้องกันปลวก: เนื้อไม้มีความหนาแน่นต่ำกว่า ควรใช้สารป้องกันปลวกหรือเชื้อรา
ระวังความชื้น: ควรเก็บไม้ในพื้นที่แห้ง และหลีกเลี่ยงการวางใกล้ความร้อนหรือแสงแดดโดยตรง
ทำความสะอาดเบา ๆ: ใช้ผ้านุ่มเช็ดฝุ่น หลีกเลี่ยงน้ำที่อาจทำให้เนื้อไม้พองตัว [8]
3. การดูแลไม้สังเคราะห์
แม้ว่าไม้สังเคราะห์จะทนทานกว่าไม้ธรรมชาติ แต่การดูแลยังคงสำคัญ
หลีกเลี่ยงสารเคมีรุนแรง: การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เหมาะสมช่วยป้องกันผิวเคลือบเสียหาย
เช็ดคราบทันที: คราบที่ฝังแน่นอาจทำให้สีผิวไม้สังเคราะห์จางลง
คำแนะนำทั่วไป
หมั่นตรวจสอบสภาพเนื้อไม้สม่ำเสมอ โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์หรือพื้นไม้
ใช้แผ่นรองกันรอยสำหรับเฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะหรือชั้นวาง
เลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เหมาะสมกับ ชนิดของไม้
การดูแลไม้แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมช่วยรักษาคุณภาพ ความสวยงาม และเพิ่มอายุการใช้งานให้กับไม้ของคุณได้ในระยะยาว [7] [8]
จุดเด่นของการนำไม้มาใช้งาน
เนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ โดยจะต้องเป็นไม้จริง หรือไม้แท้เท่านั้น วัสดุอย่างไม้นั้นสามารถนำมาเลื่อย ไส และตกแต่งเพิ่มเติมได้ง่าย เมื่อเทียบกับวัสดุประเภทอื่นอาจทำได้ค่อนข้างยาก นอกจากนี้ลวดลายของเนื้อไม้ยังดูสวยงามเป็นธรรมชาติ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อีกทั้งยังไม่เป็นสนิมอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไม้ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในการก่อสร้าง หรือทำเฟอร์นิเจอร์ วัสดุอย่างไม้ก็สามารถทำได้ดี เรียกว่าเป็นวัสดุที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายเลยทีเดียว
จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นจะพบว่าวัสดุอย่างไม้นั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายพอสมควร และชนิด ของ ไม้ ก็มีให้เลือกหลากหลายเช่นกัน ซึ่งไม้แต่ละชนิดจะมีเอกลักษณะเฉพาะตัวเป็นของตัวเอง ทำให้เห็นถึงความแตกต่างและความเหมาะสมต่อการนำไม้แต่ละชนิดไปใช้งานในด้านต่าง ๆ หากคุณกำลังตามหาไม้เก่า หรือไม้แปรรูปชนิดต่าง ๆ TWOMENWOOD ยินดีให้คำแนะนำ พร้อมกับนำเสนอสินค้าไม้แปรรูปที่น่าสนใจให้ได้เลือกซื้อกันด้วย สำหรับท่านใดต้องการดูสินค้าด้วยตัวเอง เรามีหน้าร้านไม้เก่าอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี