สินค้า
ทำความรู้จักกับตง ส่วนประกอบโครงพื้นที่ช่วยรับน้ำหนัก และถ่ายน้ำหนักสู่คาน
บ้านไม้หรือเรือนไทยของแต่ละภาคจะมีลักษณะที่แตกต่างกันโดยจะแบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาคด้วยกัน ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสานภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งเรือนไทยแต่ละภาคก็จะมีความโดดเด่นแตกต่างกันโดยการออกแบบขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ โดยเน้นความสวยงาม โดดเด่น สะดวกสบาย และมีประโยชน์ใช้สอย และแน่นอนว่าเรือนไทยนั้นจะต้องเป็นบ้านที่สร้างด้วยไม้จริงจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ [1]
สำหรับเรือนไทยภาคเหนือมักจะมีลักษณะเป็นเรือนแฝดและมีหลังคาเตี้ยกว่าเรือนในภาคอื่น ๆจะมีการประดับกาแล ซึ่งเป็นไม้แกะสลักอันสวยงามบนยอดหน้าจั่ว ส่วนเรือนไทยภาคอีสานจะมีเรือนไฟเป็นส่วนทำครัวที่แยกออกมาต่างหาก หลังคาจะลาดชันกว่าเรือนไทยของภูมิภาคอื่นบ้านเรือนไทยภาคอีสานที่นิยมสร้างมีทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ เฮือนเกย เฮือนแฝด เเฮือนโข่ง เรือนไทยภาคกลางจะใช้ทั้งไม้ไผ่ ไม้เนื้อแข็งและอิฐปูนส่วนใหญ่จึงมักสร้างบ้านที่มีหลังคาสูงเพื่อช่วยระบายความร้อนออกจากตัวบ้าน และเรือนไทยภาคใต้จะมีทั้งแบบพุทธและมุสลิม โดยจะเน้นสร้างใต้ถุนสูง หลังคามักเป็นทรงปั้นหยา หรือหน้าจั่ว [1]
บทความนี้จะกล่าวถึงหนึ่งในส่วนประกอบของโครงสร้างบ้าน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของบ้านไม้มากพอสมควร และสิ่งที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นั้นก็คือตงไม้นั่นเอง เรียกได้ว่าเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักแผ่นพื้น มาดูกันว่าข้อควรรู้เกี่ยวกับตงไม้ หรือไม้ตง มีอะไรบ้าง ?
ตง คืออะไร ?
ตงไม้ หรือไม้คาน ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักจากพื้น จึงต้องเป็นไม้ประเภทเนื้อแข็งเท่านั้น เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างที่ช่วยรับน้ำหนักแผ่นพื้นที่มีน้ำหนักเบา ไม่ว่าจะเป็นไม้จริง ไม้เทียม แผ่นไม้อัด แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ ไปจนถึงแผ่นเหล็ก โดยจะเป็นตัวช่วยในการรับน้ำหนักแล้วถ่ายน้ำหนักดังกล่าวลงสู่ตัวคาน หากจะอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ตงไม้เป็นระบบพื้นโครงเบาประเภทหนึ่งที่ถูกใช้เพื่อรับน้ำหนักนั่นเอง [2]
หน้าที่ของตง มีอะไรบ้าง ?
ตงไม้ หรือไม้ตง เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่อยู่ในโครงพื้นที่ ซึ่งมีหน้าที่ในการช่วยรับน้ำหนัก และถ่ายน้ำหนักลงสู่คาน สำหรับไม้พื้นสังเคราะห์ที่ใช้ภายนอกนั้นจะต้องมีการติดตั้งโครงพื้น เพราะพื้นที่อยู่ภายนอกจะโดนแดดและฝนอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ดังนั้นตงไม้จึงเป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญอย่างมาก
ชนิดของไม้ที่เหมาะต่อการนำมาทำตง
หากพูดถึงชนิดของไม้ตงที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้งาน ส่วนใหญ่แล้วจะแนะนำให้ใช้ไม้เนื้อแข็งมากกว่าไม้เนื้ออ่อน เพราะมีความแข็งแรงและคงทน ไม่ว่าจะเป็นไม้มะค่าโมง ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เต็ง และไม้รัง รวมทั้งไม้พื้นสังเคราะห์ หรือไม้เบญจพรรณ โดยแนะนำให้เลือกใช้ไม้ที่ผ่านการอบมาแล้ว 10–12% เพราะจะช่วยลดโอกาสที่ไม้จะขยายตัว หดหรือบิดงอได้ นอกจากนี้ไม้ตงที่ใช้ควรมีคุณสมบัติอื่น ๆ ด้วย เช่น มีหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยม, การผ่านมาตรฐานรับรองคุณภาพสำหรับอาคารไม้ และมีข้อบกพร่องของเนื้อไม้ที่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด [2]
ขนาดของไม้ที่เหมาะกับตง
เนื่องจากตงไม้มีหน้าที่ในการรับน้ำหนักของพื้น ไม้ที่ใช้จึงควรมีความหนาไม่น้อยกว่า 1.5 – 2 นิ้ว สำหรับความกว้างจะมีอยู่หลายขนาดด้วยกัน โดยจะมีตั้งแต่ 4, 6, 8, 10 และ 12 นิ้ว แต่ทว่าขนาดที่นิยมใช้กันนั้นคือ 2 × 6 นิ้ว, 2/2 × 6 นิ้ว, 2 × 8 นิ้ว หรือประมาณ 0.5 เมตร ทั้งนี้การวางไม้ตงจะวางตามความยาวของไม้พื้น [2]
อุปกรณ์ และการติดตั้งพื้นไม้เข้ากับไม้ตง
เมื่อได้ทราบแล้วว่าชนิดของไม้ และขนาดของไม้ตงควรเลือกแบบไหน คราวนี้ก็มาดูขั้นตอนการติดตั้งพื้นไม้เข้ากับไม้ตง ซึ่งอุปกรณ์ในการติดตั้งจะมีตั้งแต่เครื่องเจียร ตลับเมตร ค้อนยาง ไขควง เกรียงหวี สีโป๊ว โพลียูรีเทนชีลเลนท์ สกรู และไม้พื้น มาดูกันว่ามีขั้นตอนการติดตั้งอย่างไรบ้าง
1.กำหนดระยะ เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก โดยจะเริ่มจากการนำโครงตงเข้ากับพื้นไม้ ในกรณีที่ไม้พื้นหน้าขนาด 4 นิ้ว ให้เว้นระยะห่างไว้ 25 เซนติเมตร ส่วนไม้พื้นหน้าขนาด 6, 8, 10 หรือ 12 นิ้ว ควรเว้นระยะห่าง 30 เซนติเมตร สำหรับโครงสร้างไม้ต้องยิงด้วยสกรูปลายแหลมที่มีความยาวอย่างน้อย 1.5 นิ้ว ส่วนโครงสร้างเล็กต้องยิงยึดด้วยสกรูปลายสว่าน ปีกผีเสื้อ
2.การยิงยึดสกรู แนะนำให้ยิงห่างจากขอบแผ่นไม้อย่างน้อย 2 เซนติเมตร โดยยิง 1 จุด สำหรับไม้หน้าขนาด 4 นิ้ว ส่วนไม้หน้าขนาด 6, 8, 10 หรือ 12 นิ้ว ควรยิงยึด 2 จุด ทุกระยะของโครงตง
3.บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่น ขั้นตอนนี้ให้วางคู่ตงเพื่อรองรับปลายไม้แต่ละด้าน จากนั้นทำการลงยาแนวรอยต่อด้วยโพลียูรีเทนชีลแลนท์ เสร็จแล้วใช้สีโป๊วและสีอะครีลิกในการเก็บตะปู ปิดท้ายด้วยการทาสีทับโดยใช้สีทาไม้สังเคราะห์ที่ออกแบบมาสำหรับงานพื้นโดยเฉพาะ
4.การติดตั้ง ทำการติดตั้งพื้นตามแนวยาวก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้มีความสะดวกในการต่อ รวมถึงปรับระดับหัวไม้พื้นให้อยู่ในระดับเท่ากันด้วย
5.กรณีไม้พื้นไม่เสมอ เริ่มจากการเสริมด้วยเศษวัสดุ โดยให้รองด้านใต้ก่อนเพื่อปรับระดับ ในกรณีที่ไม้นูนสูงให้ใช้กบไสไม้จนดูเสมอกันก่อน จากนั้นใช้กระดาษทรายขัดเพื่อให้ได้พื้นที่เหมาะสมและเสมอกัน [2]
จากข้อมูลข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ตงไม้เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่อยู่ในโครงพื้นที่ ซึ่งจะช่วยรับน้ำหนักแผ่นพื้นน้ำหนักเบา โดยสามารถใช้ไม้ได้หลากหลายชนิดด้วยกัน อย่างไรก็ตามหากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาสินค้าไม้แปรรูปชนิดต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้งาน TWOMENWOOD เป็นแหล่งที่มีสินค้าไม้แปรรูปและไม้เก่าพร้อมจำหน่ายและจัดส่งทั่วประเทศด้วย สำหรับท่านใดต้องการดูสินค้าด้วยตัวเอง เรามีหน้าร้านไม้เก่าอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี